The การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ของศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

นิสันติ ศิลประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ของศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามรูปแบบวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ (SDLC) และประเมินผลความพึงพอใจเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และบุคคลภายนอก จำนวน 150 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลองระบบ 2 เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดการข้อมูลระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ของศูนย์พัฒนาภาษาและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ระบบสามารถเก็บข้อมูลประวัติการเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร ประวัติผู้เข้ารับการทดสอบด้านภาษา คะแนนการทดสอบก่อนเรียน คะแนนการทดสอบหลังเรียน คะแนนการทดสอบจริง ระบบสามารถแปรผลตามเกณฑ์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลความพึงพอใจจากการใช้งานระบบภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47

Article Details

บท
Articles

References

EF SET. THE CEFR and EF SET [Internet]. 2022 [cited 2022 Jul 19]. Available from: https://www.efset.org/cefr

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. แนวปฏิบัติการเทียบมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกระดับปริญญาตรี ภาคปกติ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ20 มี.ค.2566] เข้าถึงได้จาก: https://acad.pbru.ac.th/pdf/acad/Basic_Information_for_Registration/651116Guidelines_for_Equivalence_English_Standards_for_Undergraduate_Students_Regular_Semester.pdf

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.เกณฑ์มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ พ.ศ. 2559. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ22 มี.ค.2566] เข้าได้ถึงจาก: https://plan.pbru.ac.th/document/R_file20160408172401.pdf

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. คุณสมบัติในการออกฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ25 มี.ค.2566] เข้าได้ถึงจาก: https://edu.pbru.ac.th/en/professional-teacher-experience/

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2551.

Trew Grant. Tactics for TOEIC Listening and Reading. New York: Oxford Press; 2007.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และการออกแบบระบบสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2560.

ปิยนันท์ เสนะโห. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการตามกระบวนการไอทิล ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2565;19:27-43.

นฤพล สุวรรณวิจิตร, เมืองแมน สระทองจีน. การพัฒนาแอปพลิเคชันในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและมหาวิทยาลัย ตามมาตรฐานการวัดระดับความสามารถทางด้านภาษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ด้วยการสร้างต้นแบบ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ครั้งที่ 13 .มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม; 2564; หน้า 1071-9.

มารุต ภู่พะเนียด. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน การจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์: กรณีศึกษาแอปพลิเคชันเอ็มสต๊อก (M Stock). วารสารวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2561;15:66-76.

รุ่งเรือง มุศิริ. ระบบฐานข้อมูลเว็บของสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562;11:93-108.

ธวัช ทะเพชร, นเรศ สุรสิทธิ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2566;13:143-53.

ศักดา ปินตาวงศ์. การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม 2563;6:55-70.

ธีรวัฒน์ เสนะโห. การพัฒนาระบบกระแสงานดิจิทัลเพื่อติดตามความก้าวหน้าการขออนุมัติโคงการตามแผนปฏิบัติราชการ กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2565;18:44-61.