การออกแบบระบบควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการหมักไวน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันไวน์ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากเนื่องจากไวน์มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยไวน์จะกระตุ้นน้ำย่อยของร่างกาย การผลิตไวน์ผลิตจากองุ่นและผลไม้อื่น ๆ โดยมีการควบคุมกระบวนการหมักภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อคุณภาพด้าน สี กลิ่นและรสชาติของไวน์ วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและออกแบบระบบควบคุมอุณหภูมิแบบ Proportional Integral Derivative Control (PID) ในกระบวนการหมักไวน์ จากการศึกษาโดยทำการหมักไวน์ในสภาวะที่มีการควบคุมอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ผลการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรด-ด่างลดลงจาก 2.85 เป็น 2.70 ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดลดลงจาก 20.00 เหลือ 4.91 องศาบริกซ์ และปริมาณแอลกอฮอล์เท่ากับ 9.5 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ในระยะเวลา 10 วันจากการศึกษาระบบควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการหมักไวน์พบว่าระบบควบคุมอุณหภูมิความเสถียรและข้อมูลอยู่ในขอบเขตการควบคุม กระบวนการหมักใช้ระยะเวลาในการหมักเพื่อให้เกิดการใช้น้ำตาลและผลิตเป็นแอลกอฮอล์ใช้ระยะเวลาสั้น และให้ผลผลิตของไวน์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูง ดังนั้นการศึกษานี้จึงเป็นแนวทางในการจำลองถังหมักไวน์ที่ควบคุมอุณหภูมิได้ เพื่อต่อยอดและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนหรือวิสาหกิจชุมชนได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal
References
วาสนา สุโยธา, สุรศักดิ์ บุญรุ่ง. การศึกษาอัตราส่วนเนื้อสละและชนิดของยีสต์ที่เหมาะสมต่อการผลิตไวน์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2564;39:156-64.
ณัฏฐ์นรี เอกระ, ณิชนันท์ บุญมาก,อำนาจ ภักดีโต. การหมักไวน์น้ำตาลสดผสมกระชายดำของ Saccharomyces cerevisiae สายพันธุ์มาตรฐานและยีสต์ที่แยกจากน้ำตาลเมา. วารสารเกษตรพระวรุณ 2558;12:41-8.
นุจรี สอนสะอาด, นิราภรณ์ ทองปลิว, พรทิพา ทองแม้น. การผลิตไวน์ผสมจากแก่นตะวันและหม่อน. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชมงคลสุรินทร์วิชาการ ครั้งที่ 8 วิจัยเพื่อประเทศไทย 4.0. 22-23 ธันวาคม 2559. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. สุรินทร์: 2559.
ประภาพันธ์ ศิริขันธ์แสง, ณัฐมล แสนโคตร, ละอองทิพย์ ชุ่มเสนา. การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและทางประสาทสัมผัสของไวน์กระเจี๊ยบและไวน์กระเจี๊ยบผสมลูกหม่อน. วารสารวิจัย 2563;13:111-19.
Margean A, Padureanu V, Calefariu G. The Influence of Fermentation Temperature on White Wine Characteristics. Proceedings of ICMS2019&COMEC2019. 21-22 November 2019. Brasov Romania. 2019.
ขจรศักดิ์ พงศ์ธนา, ชัยวัฒน์ สากุล. โรงเรือนแบบไฮโดรโปนิกส์ที่มีระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. วารสารราชมงคลกรุงเทพ 2562;12:65-77.
เอกรัฐ ชะอุ่มเอียด, เดือนแรม แพ่งเกี่ยว. การควบคุมความชื้นในดินสำหรับโรงเรือนเมล่อน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2562;11:269-78.
จิรายุสวัฒ ประสม, สิทธิโชค สืบแต่ตระกูล, ทวีเดช ศิริธนาพิพัฒน์. การศึกษาคุณลักษณะของการทำความเย็นแบบเทอร์โมอิเล็กทริก. รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 วันที่ 2-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562; อุดรธานี: 2562.
Pacco HC. Simulation in the temperature parameters control in the yogurts manufacturing process. Procedia Comput Sci 2023;217:286-95.
Alobo AP, Offonry SU. Characteristics of coloured wine produced from Roselle (Hibiscus sabdariffa) calyx extract. J Inst Brew 2009;115:91-4.
กิตติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท; 2549.
Pambianchi D. Modern Home Winemaking, A Guide to Making Consistently Great Wines. Canada: Véhicule Press; 2021.
Chanprasartsuk O, Pheanudomkitlert K, Toonwai D. Pineapple wine fermentation with yeasts isolated from fruit as single and mixed starter cultures. As J Food Ag-Ind 2012;5:104-11.
Gaharwar AM, Ughade JD, Madake M, Lokhande C, Nagarkar R. Study on preparation of roselle and fruits blended roselle wine using yeast Saccharomyces cerevisiae. J Pharmacogn Phytochem 2018;7:1338-41.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไวน์. มอก.2089-2544. กรุงเทพฯ; 2544.
ศุภวุฒิ ผากา, สันติ วงศ์ใหญ่, อดิศร ถมยา. การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดในโรงเพาะเห็ดบ้านทุ่งบ่อแป้น ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2557;7:58-69.
อัษฎางค์ บุญศรี, นิวดี คลังสีดา, จารุกิตติ์ พิบูลนฤดม, ธัญญลักษณ์ บุตรศรีเพชร, เพ็ญนภา ทองแฉล้ม การพัฒนาระบบควบคุมความชื้นและอุณหภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าด้วยระบบสมาร์ทโฟน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ประจำปี 2563; 17 ธันวาคม 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: 2563
พิทักษ์ คล้ายชม, อภิศักดิ์ พรมฝาย, ไพโรจน์ นะเที่ยง, นุภากร พร้อมมูล, วัชรินทร์ วัฒนเชษฐ์, ณัฏฐพล พิศพันธุ์. การพัฒนาระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติสำหรับโรงเพาะเห็ดฟางบนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2565;5:25-39.
วิเชียร ดวงสีเสน. การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนปลูกเมล่อน. สักทอง วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.) 2565;9:39-50.
ทวีลาภ เสาร์ประโคน, บารมี หรีกประโคน, จักรมงคล แป้นประโคน, วิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์. การออกแบบและสร้างชุดควบคุมตู้ฟักไข่ด้วยระบบไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2563:2:67-73.
ธเนศ ตั้งจิตเจริญเลิศ, ธัญภพ ศิริมาศเกษม, อิสรี ศรีคุณ, ศักดิ์ศรี แก่นสม, กวีพจน์ วรเนตรสุทธิกุล. ระบบควบคุมคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งก้ามแดง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563;15:111-21.
Shengyi Z, Xinming W. The Design of Temperature Control System for Rice Wine Fermentation. Proceedings of the 2nd International Conference on Systems Engineering and Modeling (ICSEM-13); 21-22 April 2013; Beijing: 2013