การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการร่อนทอง ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การร่อนทองบางสะพาน ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนการร่อนที่น่าสนใจและควรถูกอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหาย เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ทางวัฒนธรรมให้ผู้ที่สนใจหรือคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ทำให้ตำบลร่อนทองถูกจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชมแหล่งร่อนทองและลองร่อนทองกัน โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการร่อนทอง 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการร่อนทอง 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของสื่อแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) สื่อแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการร่อนทอง ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) แบบประเมินความพึงพอใจของสื่อแอนิเมชัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อแอนิเมชันประกอบด้วย ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป 2) ผลการประเมินคุณภาพของสื่อแอนิเมชัน จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.44) และ 3) ผลการศึกษาประเมินความพึงพอใจของสื่อแอนิเมชัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.46, S.D. = 0.57) ดังนั้น สื่อแอนิเมชันดังกล่าวสามารถแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และกระบวนการร่อนทอง ผ่านภาพเคลื่อนไหว ช่วยสร้างความตระหนักรู้ เข้าใจในคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป และยังสามารถกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต้องการมาสัมผัสกับวัฒนธรรมได้อีกด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal
References
นิภา เพชรสม. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องทองบางสะพานที่บ้านป่าร่อน ของโรงเรียนบางสะพานวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2021;7:34–48.
กาญจนา บุญส่ง, นิภา เพชรสม. ชุดฝึกอบรมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2556.
สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี. บ้านป่าร่อน ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://Www.Finearts.Go.Th/Fad1/View/13066-บ้านป่าร่อน-ตำบลร่อนทอง-อำเภอบางสะพาน-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชณัฎฐ์ พงศ์ธราธิก, สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์, อนันต์ มาลารัตน์. การพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2564;6:77–91.
วีรศักดิ์ ฟองเงิน, สุรพงษ์ เพ็ชร์หาญ, เนตรดาว โทธรัตน์. การพัฒนาชุมชนโอทอปนวัตวิถีและส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้วยระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2019;5:65–74.
สมหมาย ปานทอง, ญาณกร โท้ประยูร, โกมล ปราชญ์กตัญญู, เสรี วงษ์มณฑา. แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยว อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์ 2021;26:1–11.
ขั้นตอนในการทำแอนิเมชัน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2023]. เข้าถึงได้จาก: //kanchanapisek.or.th/sub/book/book.php?book=36&chap=7&page=chap7.htm
วิโรจน์ ศรีหิรัญ. การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในยุคการหลอมรวมสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2565;7:121–31.
อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์, รัชดา ภักดียิ่ง, จริยา ปันทวังกูร. การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในจังหวัดขอนแก่น. J Buddh Educ Res 2021;7:120–9.
สุทธิพงษ์ คล่องดี, นลินี ชนะมูล. การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2021;7:75–83.
บุญชม ศรีสะอาด, บุญส่ง นิลแก้ว. การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University 2561;3:22-5
ชญานิน อุประ, ประภาพร ต๊ะดง, ศิริกรณ์ กันขัติ์. การพัฒนาสื่อการสอน แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แม่ฮ่องสอนเมืองสามหมอก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน 2023;1:48–59.
จักรพันธ์ เรืองนุภาพขจร. การพัฒนาสื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม2024;12:36–48.