การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการสืบค้นโครงงานฉบับเต็มของสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, การสืบค้น, โครงงานนักศึกษา, เว็บแอปลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการสืบค้นโครงงานฉบับเต็มสำหรับจัดการข้อมูลโครงงานนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดปัญหาในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลโครงงานที่มีปริมาณมากขึ้นและอยู่ในรูปแบบของเล่มเอกสารซึ่งขาดความสะดวกในการเข้าถึง ระบบสารสนเทศออกแบบและพัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันที่รองรับการแสดงผลแบบ Responsive Design โดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล MariaDB จากนั้นประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาผู้ใช้งานระบบด้วยแบบสอบถาม ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37) และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในด้านส่วนติดต่อกับผู้ใช้มีความง่ายและสะดวกในการใช้งาน (
= 4.67) ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินความพึงพอใจโดยกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.43) และมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดในด้านของความสามารถในการทำงานได้อย่างถูกต้องของระบบ (
= 4.56)
References
หทัยชนก แจ่มถิ่น, อนิรุทธิ์ สติมั่น. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2558; 8(2): 893-911.
เมทิกา พ่วงแสง, วิสุตา วรรณห้วย. การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับจัดการข้อมูลงานวิจัยในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP 2562; 4(1): 8-17.
เกรียงศักดิ์ จันทีนอก, เอกชัย แน่นอุดร, นิพจน์พัทธ์ เมืองโคตร. การพัฒนาระบบสารสนเทศการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กรณีศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2563; 7(1): 29-39.
เพียรทิพย์ ศรีสุธรรม, รัตนา ลีรุ่งนาวารัตน์, ณัฏฐ์ธมน หีบจันทร์กรี. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานบัณฑิตนิพนธ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2565; 10(2):139-154.
นัฐพงศ์ ส่งเนียม, ธนันญดา บัวเผื่อน, กิตติพัฒน์ ศิริมงคล. การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น) 2565; 17(1): 21-39.
ดนิตา โทนโต๊ะ, สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร, นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร. การออกแบบระบบสารสนเทศดิจิทัลสำหรับหน่วยตรวจผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2565; 32(4): 904-913.
จุติพงษ์ จูมโสดา, เอกสิทธิ์ เทียมแก้ว, อรสา เตติวัฒน์. ต้นแบบระบบการจัดการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงผ่านเว็บแบบ Responsive. TNI Journal of Engineering and Technology 2560; 5(2): 36-42.
อภิชัย ซื่อสัตย์สกุลชัย, อรสา เตติวัฒน์, ธนัช กนกเทศ. การพัฒนาระบบการจัดการการให้บริการการขอใช้โลหิตของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยเว็บแบบตอบโต้. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561; 2: 148-160.
นงเยาว์ สอนจะโปะ, สิทธิพงษ์ พุทธวงษ์. การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรีโดยใช้หลักการ RESPONSIVE WEB DESIGN. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี 2562; 15(4): 88-99.
สุพิชฌาย์ ถาวรลิมปะพงษ์, ประเสริฐ ลือโขง. การพัฒนาภาพลักษณ์ภูมิปัญญาขนมไทย “ขนมอาลัวกุหลาบ” ด้วยโปรแกรมระบบบริหารจัดการเว็บแอพพลิเคชั่น. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม 2562; 3(2): 69-75.
ชัยวัฒน์ ตรีปักษ์, ฐิติชัย รักบำรุง, นคร ละลอกน้ำ. การพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร 2564; 4(2): 23-34.
สุธรรม นกสี, สุมาลี สุนทรา. การพัฒนาโมบาย เลิร์นนิง แบบ Responsive Web Design เรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 9 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2564; 5(2): 25-39.
สุนันทา หาผลดี, สุชีรา มะหิเมือง. แนวทางการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31. วารสารบัณฑิตศึกษา 2557; 11(54): 201-212.
ปรีชา พินชุนศรี, ฐิติรัตน์ จันทรดารา, ยุทธเดช ช้อยแสง, ธนิกา กอสินประเสริฐ, ดวงนภา บัวสันต์. การพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการด้านทะเบียนทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2562; 25(2): 79-91.
ดาวรถา วีระพันธ์. ระบบสารสนเทศจัดการข้อมูลสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษาด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 13(2): 126-136.
ลักษณ์นารา จันทรารมย์, วริษฐ์ ธรรมศิริโรจน์. การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้สำหรับแอปพลิเคชันควบคุมฟาร์มอัจฉริยะ กรณีศึกษาฟาร์มไม้ดอก. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 2564; 41(4): 65-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาสตร์ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ
2. ข้อความหรือข้อคิดเห็นในวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฉบับนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา