ความเหมาะสมของถิ่นอาศัยบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยพลาญเสือตอนบน อุทยานแห่งชาติ ภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อการฟื้นฟูจระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการศึกษาพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีโอกาสเป็นเหยื่อจระเข้ 18 ชนิด มีค่าความมากมายสัมพัทธ์มากที่สุด คือ หมาจิ้งจอก ร้อยละ13.4 หมูป่าร้อยละ 4.1 หนูร้อยละ 3.3 กระจ้อนร้อยละ 2.5 และชะมดแผงหางปล้องร้อยละ 2.5 พบนกที่สามารถเป็นเหยื่อของจระเข้ 29 ชนิด นกที่มีร้อยละความชุกชุมมากที่สุด คือ นกกะปูดใหญ่ ร้อยละ100 ไก่ป่า ร้อยละ83.3 และนกอ้ายงั่วร้อยละ 83.3 นกที่มีความหนาแน่นมากที่สุด คือ เป็ดแดง นกอ้ายงั่ว และ เป็ดคับแค พบปลาน้ำจืดที่เป็นเหยื่อจระเข้อย่างน้อย 14 ชนิด ประเมินได้ว่าความมากมายของเหยื่อเพียงพอต่อการอยู่รอดของจระเข้ เมื่อเทียบกับการกินอาหารของจระเข้โตเต็มวัย ประมาณ 3 กิโลกรัม/ครั้ง ด้านสภาพปัจจัยแวดล้อม สภาพพื้นที่ลาดชันบริเวณชายตลิ่งมีความลาดชันต่ำ (0 – 30 องศา) ปรากฏกระจายอยู่รอบอ่างเก็บน้ำ และมีพื้นที่สันดอนบริเวณกลางอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการสร้างรังวางไข่ของจระเข้ และมีขอนไม้ล้มขนาดใหญ่เหมาะสมต่อการใช้เป็นที่การอาบแดดของจระเข้ ระดับความลึกของน้ำมีความเหมาะสมต่อการอาศัยของจระเข้ตลอดทั้งปี ความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรจระเข้น้ำจืดในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยพลาญเสือตอนบน อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย และพื้นที่อนุรักษ์แห่งอื่น ๆ ที่เหมาะสมของประเทศไทยต่อไป
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
2014. Preliminary inventory of biodiversity
at Ghodahada resevoir: conservation of
Mugger Crocodile at Ganjam District, Odisha.
Biodiversity and Endangered Species
Journal 2 (3): 1-4.
Bibby, C. J., M. Jones and S. Marsden. 1998. Expedition
Field Techniques Bird Survey. Geographic
Outdoor, London.
Chitchamnong, W. 2016. Some Ecological Aspects of
Siamese Crocodile (Crocodylus siamensis)
in Khao Ang Rue Nai Wildlife Sanctuary.
M.S. Thesis, Kasetsart University, (in Thai).
Jornburom, P., V. Chimchome, A. Pattnavibool and
P. Poonswad. 2010. Density estimation
of hornbills in Huai Kha Khaeng Wildlife
Sanctuary, Uthai Thani province. Thai
Journal of Forestry 29 (1): 1-11. (in Thai)
Pengsombut, S. and P. Nonthathron. 2016. Local
Communities Participation in Wildlife
Tourism Development at Kuiburi National
Park, Prachuap Khiri Khan Province. Thai
Journal of Forestry 35 (2): 99-109. (in Thai)
Polphan, S., N.T. Phongkhieo and V. Chimchome.
2010. Impacts of Forest Area Utilization by
Local Communities on Habitat Utilization by
Wildlife: A Case Study in Kaeng Krachan
National Park. Thai Journal of Forestry 29
(1): 43-54. (in Thai)
Ross, J.P. 1998. Status survey and conservation
Action Plan. 2nd Edition. IUCN, Gland,
Switzerland Cambridge, UK.
Sam, H., L. Hor, R. Nhek, P. Sorn, S. Heng, B.K.
Simpson, A. Starr, S. Brook, J.L. Frechette
and J.C. Daltry. 2015. Status, distribution and
ecology of the Siamese crocodile Crocodylus
siamensis in Cambodia. Cambodian Journal
of Natural History 2015 (2): 153–164.
Simpson, B.K. 2006a. Siamese Crocodile Survey and
Monitoring Handbook: An Introduction
for Conservation Workers in Cambodia.
Fauna & Flora International, Cambodia
Programme. Phnompen Penh, Cambodia.
_______., D. Chheang and S. Han. 2006b. The status
of the Siamese crocodile in Cambodia, pp.
292–304. In Crocodiles. Proceedings of
the 18th Working Meeting of the Crocodile
Specialist Group. IUCN, Gland, Switzerland
Cambridge, UK.
Sutherland, W.J. 1996. Ecological Census Techniques:
a Hand Book. Cambridge University Press,
Cambridge.
Wittayanon, C. 2003. Guide of Fresh-water fish.
Sarakadee, Bangkok. (in Thai)
Yangprapakorn, P. 2014. Workshop on development
of human resources of the state to have
knowledge in the management of crocodiles
in order to preserve and increase the
population of crocodiles in nature. 24-25
January 2014. Panya Farm Kampeangsean
CO., LTD. Nakhon Pathom.