การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมของคนในชุมชนท้องถิ่นใกล้พื้นที่ป่าไม้ในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บ่งชี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของคนในชุมชนท้องถิ่น และศึกษาทัศนะของผู้นำชุมชนต่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ศึกษา ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าคนในชุมชนท้องถิ่นมีศักยภาพในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของคนในชุมชนท้องถิ่น คือ การให้คุณค่าต่อทรัพยากรป่าไม้ และทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จึงควรทำโดยการเผยแพร่ความรู้เพื่อคงไว้ซึ่งการให้คุณค่าและทัศนคติทางบวกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของคนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมายของการส่งเสริมการอนุรักษ์ คือ คนรุ่นเยาว์ ในขณะเดียวกันควรมีการควบคุมและขจัดปัจจัยคุกคามพื้นที่ป่าในพื้นที่ได้แก่ การให้สัมปทานระเบิดหินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การเลี้ยงปศุสัตว์ และการคุกคามของ พืชต่างถิ่น
Downloads
Article Details
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”
References
Attitudes and Predicting Social Behavior.
Prentice-Hall, Englewood-Cliffs, New Jersey.
Cochran, W. G. 1977. Sampling Techniques. John
Wiley & Sons, New York.
Fishbein, M. and I. Ajzen. 1975. Belief, Attitude,
Intention, and Behavior: An Introduction
to Theory and Research. Addison-Wesley,
Reading, Main.
Jorakhesamphan Tambon Administration Office. 2018.
Population Statistics. Available source:
http://www.Jorakhesamphan.go.th October
9, 2017. (in Thai)
Mohr, D. M. and W. Smith. 1999. Forestering
Sustainable Behavior: An Introduction
to Community-Based Social Marketing.
New Society Publishers, Gabriola Island B.C.
Nongong Tambon Administration Office. 2018.
Population Statistics. Available source:
http://www.nongong.go.th October 9, 2017.
(in Thai)
Nunnally, J. and I. Bernstein. 1994. Psychometric
Theory (3rd Ed). McGraw-Hill, Inc., New
York.
Phongkhieo, N. T. and T. Sangchoey. 2017. Meta-
Analysis in Conservation Behaviors of
Protected AreaUsers: A Research Report.
Department of Conservation, Faculty of
Forestry, Kasetsart University. Bangkok.
(in Thai)
____________. and N. Nunsong. 2016. Development
and Conservation of Phu Hang Nak
Tourism Site and Its Connectivity: A
Project Report. Department of Conservation,
Faculty of Forestry, Kasetsart University.
Bangkok. (in Thai)
____________., R. Nuampakdee., N. Nunsong., U.
Phumalee., T. Sangchoey., D. Kaowsrita.,
and P. Kongchaleam. 2018. Handbook for
Nature and Local Ecosystem Study in Phu
Hang Nak, U Thong District, Suphanburi
Province. Khianaksorn Printing, Bangkok.
(in Thai)
Rovinelli, J. and R. K. Hambleton. 1977. On the use
of content specialists in the assessment of
criterion-referenced test item validity. Dutch
Journal of Educational Research 2: 49-60.
Royal Forest Department. 2018. Forest Area. Available
source: http://www.forest.go.th, October 19,
2018. (in Thai)
U Thong Tambon Administration Office. 2018.
Population Statistics. Available source:
http://www.u.thongcity.go.th October 9,
2017. (in Thai)