ผลของแหล่งที่มาของแบบจำลองความสูงเชิงเลขต่อความถูกต้องของการแยกโครงข่าย การระบายน้ำอัตโนมัติด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ทางอุทกวิทยา

Main Article Content

ชนิสา สว่างจันทร์
ชัชชัย ตันตสิรินทร์

บทคัดย่อ

การแยกโครงข่ายการระบายน้ำอัตโนมัติ คือ กระบวนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่่ทางอุทกวิทยาเพื่อให้ได้รูปแบบ
ลำน้ำโดยใช้แบบจำลองความสูงเชิงเลข (DEM) เป็นข้อมูลหลักในการวิเคราะห์ ซึ่งหากมีแหล่งที่มาแตกต่างกัน อาจ
ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโครงข่ายที่ได้ การศึกษานี้เปรียบเทียบผลของการใช้แบบจำ ลองความสูงเชิงเลขจากแหล่งที่มา
ที่แตกต่างกัน ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน (LDD DEM), ASTER GDEM, SRTM และจากขั้นตอนวิธี ANUDEM เป็น
ข้อมูลหลักเพื่อแยกโครงข่ายการระบายน้ำอัตโนมัติ และตรวจสอบความถูกต้องกับโครงข่ายการระบายน้ำจริง
ที่สำรวจภาคสนาม โดยเปรียบเทียบผลการศึกษาในภูมิประเทศที่ต่างกัน 3 แบบ คือ พ้นื ที่ความลาดชันสูง พื้นที่ความ
ลาดชันปานกลาง และพื้นที่ราบ
ผลการศึกษาพบว่า ค่า DAT ที่เหมาะสมที่ได้จากแบบจำลองความสูงเชิงเลขจากแหล่งที่มาต่าง ๆ มีค่าต่าง
กัน โครงข่ายการระบายน้ำอัตโนมัติเกือบทั้งหมดมีความยาวและความหนาแน่นของการระบายน้ำ มากกว่าลำน้ำจาก
แผนที่ภูมิประเทศ โดยโครงข่ายลำน้ำอัตโนมัติของพื้นที่สูงชันที่แยกจากข้อมูล LDD DEM มีความถูกต้องมากที่สุด
รองลงมาคือ ANUDEM, SRTM และ ASTER GDEM โดยมีค่าความถูกต้อง เท่ากับร้อยละ 85.83, 40.73, 38.75 และ
29.55 ตามลำดับส่วนพื้นที่ความลาดชันปานกลางและพื้นที่ราบ พบว่าโครงข่ายการระบายน้ำจากแบบจำลองความสูง
เชิงเลขของ SRTM มีความถูกต้องสูงสุด รองลงมาคือ LDD DEM, ANUDEM และ ASTER GDEM โดยมีค่าความ
ถูกต้องเท่ากับร้อยละ 73.33, 72.45, 31.49 และ 30.03 ในพื้นที่ความลาดชันปานกลาง และร้อยละ 39.17, 37.77, 19.20
และ 18.32 ในพื้นที่ราบ ตามลำดับ
ขอ้ เสนอแนะจากผลการศึกษานี้คือการแยกโครงข่ายการระบายน้ำอัตโนมัติ ิเหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์
ใชกับพื้นที่ความลาดชันสูงและปานกลาง โดยใช้ LDD DEM เป็นข้อมูลสำหรับวเิ คราะห์ เนื่องจากมีความถูกต้อง
และความละเอียดสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Land Development Department. 2008. Digital Elevation Model (DEM). Source: http://www.lddservice.org/services/dem.php, 20 July 2018.

Ket-ord, R. 2015. Geomorphological features and drainage patterns in earthquake area, Mae Pung and Mae Lao Sub-Watershed, Chiang Rai province. Thai Journal of Forestry 34 (2): 42-50.

Srisoontorn, W., K. Chuchip, P. Saguantam. 2017. Estimation of the average height of forest stand using digital elevation Model in Khlong Lan National Park, Kamphaeng Phet province. Thai Journal of Forestry 36 (2): 87-97.

Giertz, S., B. Diekkrüger and G. Steup. 2006. Physically-based modelling of hydrological processes in a tropical headwater catchment (West Africa) - process representation and multi-criteria validation. Hydrology and

Earth System Sciences 10: 829-847.

Hutchinson, M. F. 1988. Calculation of hydrologically sound digital elevation models. pp. 117- 133. In Third International Symposium on Spatial Data Handling. International Geographical Union, Sydney.

Hutchinson, M. F. 1989. A new procedure for gridding elevation and stream line data with automatic removal

of spurious pits. Journal of Hydrology 106: 211-232.

Hutchinson, M. F. 1997. ANUDEM Version 4.6, Users Guide. Canberra, Australia.

Jenson, S. K. and J. O. Domingue. 1988. Extracting topographic structure from digital elevation data for Geographic Information System analysis. Photogrammetric Engineering and Remote Sensing. 54 (11): 1593–1600.

Liu, X. and Z. Zhang. 2010. Extracting drainage network from high resolution DEM in Toowoomba, Queensland. pp. 1-12. In Queensland Surveying and Spatial Conference 2010. Surveying & Spatial Sciences Institute. Brisbane, Australia.

Mantelli L.R., J.M. Barbosa and M.D. Bitencourt. 2011. Assessing ecological risk through automated drainage extraction and watershed delineation. Ecological Informatics 6: 325–331.

Tague, C. and M.P. Costello. 2008. The potential utility of physically based hydrologic modeling in ungauged urban streams. Annals of the Association of American Geographers 98(4): 818-833.

Tantasirin, C., M. Nagai, T.Tipdecho and N.K. Tripathi. 2016. Reducing hillslope size in digital elevation models at various scales and the effects on slope gradient estimation. Geocarto International 31(2): 140-157.