การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

กัญกานต์ ศรีภิลา
พสุธา สุนทรห้าว
สุรินทร์ อ้นพรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ในฐานะของผู้มาเยือน และเพื่อศึกษาผลประโยชน์/ผลกระทบหลักและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการของสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งประชากรในการวิจัยคือกลุ่มผู้มาเยือนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์/ผลกระทบของสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามทั้งแบบปลายเปิดและปลายปิดทำการเก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญการวิเคราะห์หาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักจะพิจารณาจากค่าสำคัญคือค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยที่อิงเงื่อนไข4ประการ ได้แก่ จำนวนผลประโยชน์/ผลกระทบ ระยะเวลาการได้รับผลประโยชน์/ผลกระทบ ระดับการพึ่งพา และระดับการมีส่วนร่วม


                ผลการศึกษาพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้มาเยือนต่อสวนศรีนครเขื่อนขันธ์มี 10 กลุ่มตามเกณฑ์อาชีพ ได้แก่ เอกชน 135 คน(33.75%)  เยาวชน 83 คน(20.75%) รัฐ 60 คน(15.00%) รัฐวิสาหกิจ47คน(11.75%)ลูกจ้าง 29 คน(7.25%) ค้าขาย19 คน(4.75%)พนักงานองค์กรที่ไม่ใช่รัฐและไม่แสวงหาผลกำไร10 คน(2.50%) พ่อบ้าน-แม่บ้าน 8 คน(2.00%)  ว่างงาน 6 คน(1.50%)  ผู้สูงอายุ 3 คน(0.75%) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก คือกลุ่มอาชีพ“รัฐ” ซึ่งมีผลรวมค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยจากทั้ง 4 เงื่อนไขคือ 13.56 ส่วนผลประโยชน์หลักที่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้มาเยือนให้ความสำคัญสูงสุดร่วมกันคือ “นันทนาการ”ส่วนค่าความถี่ของผลกระทบมีค่าเป็นศูนย์ในทุกกลุ่ม สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องพัฒนาโดยอาศัยหลักการจัดการอย่างมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เพื่อเพิ่มศักยภาพซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การจัดการอย่างเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มอาชีพ“รัฐ”เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงกว่ากลุ่มอื่น และการคำนึงถึงผลประโยชน์หลักอย่าง “นันทนาการ”จะสามารถดึงดูดให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะผู้มาเยือนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการพื้นที่สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ในด้านต่างๆต่อไปในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Jindarak, P. 2016. Community Tourism and Participation in Conservation of Green Areas in Bang Krachao Sub-district and Bang Nam Phueng Subdistrict, Phra Pradaeng District, Samut Prakan Province. M.S.Thesis, Kasetsart University.

Khuean Khan Green Area Management Center. 2015. Document Summary of the City Central Park Project. Seedling Nursery Part, Bureau of Forest Promotion, Royal Forest Department. Bangkok.

Andrew, T. 2012. Development and testing of a community stakeholder park audit tool. American Journal of Preventive Medicine 42(3): 242-249

Sargento, O.J. 1995. Participatory of Major Stakeholder in the Conversation of the Makiling Forest Reserve, Ph.D. Thesis.University of the Philippines, Los Banos

Sunthornhao, P. 2008. Participatory Land Allocation in Huai Dau Watershed, Nong Phok District, Roi Et Province, Thailand as a Forestry Extension Management Tool. Ph.D. Thesis,University of the Philippines, Los Banos

Sunthornhao, P. 2009. Interaction among stakeholder representatives and their stakes in participatory

forest resources management. Thai Journal of Forestry 28(1): 82-95

Cochran, W.G.1953. Sampling Techniques. John Wiley & Son.Inc, New York.