การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ–ภูกระแต จังหวัดเลย

Main Article Content

ปิยมาศ วังคีรี
ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล
วันชัย อรุณประภารัตน์

บทคัดย่อ

การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในอดีตมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางกายภาพและเศรษฐกิจสังคม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบุกรุกและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต จังหวัดเลย โดยใช้เทคนิคทางกายภาพการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) ในการให้คะแนนความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการบุกรุกและวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการบุกรุกด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต ในระยะ 3 กิโลเมตรจากแนวเขต ได้แก่ ระยะห่างจากหมู่บ้าน รองลงมา คือ ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากแม่น้ำ ความลาดชัน ระยะห่างจากหน่วยพิทักษ์ป่า ชุดดิน และความสูงของพื้นที่ มีค่าคะแนนความสำคัญเท่ากับ 0.24, 0.23, 0.19, 0.12, 0.08, 0.08 และ 0.06 ตามลำดับ ระดับพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก แบ่งได้ 4 ระดับ คือ เสี่ยงมาก ปานกลาง น้อย และน้อยมาก ครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ 40.40, 46.48, 13.5 และ 0.07 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ โดยพื้นที่เสี่ยงมากกระจายอยู่ในตำบลศรีฐาน ตำบลแก่งศรีภูมิ ตำบลห้วยส้ม และตำบลห้วยสีเสียด เมื่อนำแผนที่เสี่ยงต่อการบุกรุกซ้อนทับกับจุดพิกัดคดีทางป่าไม้ที่เกิดขึ้นจริง 42 คดี พบว่า ในพื้นที่เสี่ยงมาก ปานกลาง และน้อย คิดเป็นร้อยละ 40.48, 50.00 และ 9.52 ของจุดคดีทางป่าไม้ทั้งหมด ตามลำดับ ผลการศึกษานี้นำไปใช้ในการวางแผนการจัดการพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต ได้โดยเฉพาะการกำหนดแผนงานป้องกันป่าไม้ในพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกมาก


คำสำคัญ: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, พื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก, กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

ปิยมาศ วังคีรี, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ส่วนสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Forest Inventory, Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation