การจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำในพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการจำแนก โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ภูมิลักษณ์ จากแบบจำลองความสูงเชิงเลขที่ต่างกัน

Main Article Content

ศิริชัย ด้วงเงิน
วันชัย อรุณประภารัตน์
ปิยพงษ์ ทองดีนอก

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำในพื้นที่บางส่วนของลุ่มน้ำห้วยขยุง ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่ และลุ่มน้ำลำโดมน้อยที่ยังไม่ได้รับการจำแนก โดยใช้วิธีการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมูลและชีด้วยข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลขจากข้อมูลจากดาวเทียม TERRA (ASTER GDEM) และข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศลำดับชุด L7017 และ L7018 ของกรมแผนที่ทหาร แล้วเปรียบเทียบผลการจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำกับชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรีในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขยุง ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่ และลุ่มน้ำลำโดมที่ได้มีการจำแนกไว้บางส่วน


            ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความถูกต้องและระดับความสอดคล้อง โดยวิเคราะห์ข้อมูล ณ ตำแหน่งเดียวกัน การจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำโดยใช้แบบจำลองความสูงเชิงเลขจากข้อมูลจากแผนที่ L7018 มีความถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือการจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำโดยใช้แบบจำลองความสูงเชิงเลขจากข้อมูลจากแผนที่ L7017 และการจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำโดยใช้แบบจำลองความสูงเชิงเลขจาก ASTER GDEM โดยมีความถูกต้องร้อยละ 85.01, 83.47 และ 61.66 ของพื้นที่ตามลำดับ และมีความสอดคล้องอยู่ในระดับปานกลาง (Kappa=0.60 ) ระดับปานกลาง (Kappa=0.56 ) และระดับพอใช้ (Kappa=0.29) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการใช้แบบจำลองความสูงเชิงเลขจากข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศซึ่งมีข้อมูลความสูงใกล้เคียงภูมิประเทศจริงมีความความถูกต้องและสอดคล้องมากกว่าแบบจำลองความสูงเชิงตัวเลขจาก ASTER GDEM โดยวิธีการสร้างข้อมูลภูมิลักษณ์ของสถาบัน Missouri Resource Assessment Partnership สามารถนำมาประยุกต์กับพื้นที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม


คำสำคัญ : การจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ แบบจำลองความสูงเชิงเลข

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ