ผลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมและอายุของกล้าต่อการรอดตายและการเติบโตของพะยูงที่ปลูกเสริมป่าธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ : ผลการศึกษาในปีแรก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอัตราการรอดตาย การเติบโต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่อการเติบโตของกล้าพะยูงที่ปลูกเสริมในพื้นที่ป่าธรรมชาติ โดยนำกล้าพะยูงอายุ 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี ไปปลูกในพื้นที่ป่าดิบแล้ง ป่าแนวรอยต่อระหว่างป่าเบญจพรรณกับป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ เก็บข้อมูลปัจจัยแวดล้อมทุกเดือน วัดการเติบโตและการรอดตายของกล้าทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี พบว่า อัตราการรอดตายของกล้าพะยูงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างชั้นอายุของกล้าและพื้นที่ปลูก (p<0.05) โดยกล้าอายุ 6 เดือน และพื้นที่ป่าดิบแล้ง มีอัตราการรอดตายเฉลี่ยมากที่สุด ด้านการเติบโต พบว่า ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายเดือนของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับชิดดินและความสูง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างชั้นอายุของกล้าในช่วง 3 เดือนแรก โดยกล้า 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี มีค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับชิดดินเท่ากับ 0.34, 0.38 และ 0.11 มิลลิเมตรต่อเดือน ตามลำดับ และความเพิ่มพูนเฉลี่ยด้านความสูงเท่ากับ 1.17, 0.98 และ 4.11 เซนติเมตรต่อเดือน ตามลำดับ จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของกล้าพะยูงกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ พบว่า อุณหภูมิดิน ปริมาณน้ำฝน และความชื้นดิน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเติบโตของกล้าพะยูง ส่วนอุณหภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และความเข้มแสง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอัตราการรอดตาย เมื่อพิจารณาทั้งจากอัตราการรอดตายและการเติบโตของพะยูง สามารถสรุปได้ว่ากล้าพะยูงอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกเสริมป่าธรรมชาติ
คำสำคัญ: พะยูง ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเติบโต การรอดตาย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”