การเปรียบเทียบสังคมพืชระหว่างป่าปลูก ป่าดิบแล้งทุติยภูมิ และป่าดิบแล้งธรรมชาติ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ามวกเหล็ก-ทับกวาง แปลง 2 จังหวัดสระบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเปรียบเทียบสังคมพืชบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ามวกเหล็ก-ทับกวาง แปลง 2 จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้าง และองค์ประกอบของสังคมพืชในพื้นที่ป่าปลูก ป่าดิบแล้งทุติยภูมิ และป่าดิบแล้งธรรมชาติ โดยทำการวางแปลงทดลองแบบชั่วคราว ขนาด 20x50 เมตร ในพื้นที่ทั้ง 3 ประเภท จำนวนพื้นที่ละ 3 แปลง ศึกษาลักษณะโครงสร้างและวนวัฒนวิทยา พร้อมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะต่างๆ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance, ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ Duncan’s new multiple range test (DNMRT)
ผลการศึกษาพบว่า ป่าปลูกมีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้น 22 ชนิด ป่าดิบแล้งทุติยภูมิ 11 ชนิด และป่าดิบแล้งธรรมชาติ 37 ชนิด ความหนาแน่นของของไม้ยืนต้น ไม้รุ่น และกล้าไม้ ของป่าปลูกมีค่า 493, 3,587 และ 51,667 ต้นต่อเฮกแตร์ ป่าดิบแล้งทุติยภูมิ 293, 2,200 และ 20,000 ต้นต่อเฮกแตร์ และป่าดิบแล้งธรรมชาติ 523, 5,040 และ 44,333 ต้นต่อเฮกแตร์ ส่วนพื้นที่หน้าตัดป่าปลูกมีค่ามากที่สุด 19.63 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ รองลงมาคือป่าดิบแล้งธรรมชาติ และป่าดิบแล้งทุติยภูมิ 10.90, 5.83 ตารางเมตรต่อเฮกแตร์ ซึ่งมีแนวโน้มเหมือนกันกับมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน และปริมาตร ที่ป่าปลูกมีค่ามากที่สุด คือ 103.75 ตันต่อเฮกแตร์ รองลงมาคือ ป่าดิบแล้งธรรมชาติ และป่าดิบแล้งทุติยภูมิ มีค่า 68.01, 27.67 ตันต่อเฮกแตร์ และ 135.37, 74.04 และ 40.82 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ สำหรับความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (H’) จะพบว่าป่าดิบแล้งธรรมชาติมีค่ามากที่สุด 3.91 และ รองลงมาคือป่าปลูก และป่าดิบแล้งทุติยภูมิ มีค่า 2.44 และ 1.68 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาความคล้ายคลึงของสังคมพืชในภาพรวมพบว่าป่าปลูกมีความคล้ายคลึงกันกับป่าดิบแล้งธรรมชาติมากกว่าป่าดิบแล้งทุติยภูมิ ดังนั้นควรให้มีการปลูกป่าเพื่อทำให้ได้การเติบโตและผลผลิตที่เร็วขึ้น และยังสามารถเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้อีกด้วย
คำสำคัญ: การเปรียบเทียบสังคมพืช ป่าปลูก ป่าดิบแล้งทุติยภูมิ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”