ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของผู้มาเยือนต่อกฎระเบียบ การใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ

Main Article Content

พีรวัฒน์ คำล้ำเลิศ
สุภัทรา ถึกสถิตย์
นภวรรณ ฐานะกาญจน์ พงษ์เขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มาเยือนต่อกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตอบสนองต่อกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติโดยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นตัวแทนอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า–หมู่เกาะเสม็ด เป็นตัวแทนอุทยานแห่งชาติทางทะเล เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มาเยือน จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยกำหนดตัวแปรตามทั้งหมด 8 ตัวแปร ได้แก่ ประสบการณ์ในการมาเยือน กิจกรรมที่ประกอบจริงในพื้นที่ การพักค้าง แรงจูงใจด้านการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง แรงจูงใจด้านความต้องการส่วนบุคคล แรงจูงใจด้านการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติและได้ใช้เวลากับคนใกล้ชิด ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ


ผลการศึกษา พบว่า ผู้มาเยือนส่วนมากเลือกการประกอบกิจกรรมชมวิวทิวทัศน์ มีแรงจูงใจในการมาเยือนอุทยานแห่งชาติที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การได้ผ่อนคลายจากความเครียด มีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ และมีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในระดับมาก แต่ผู้มาเยือนบางส่วนไม่ทราบเกี่ยวกับกฎระเบียบที่ประกาศใช้ใหม่ อย่างไรก็ดีความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมของกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของผู้มาเยือนต่อกฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ ในเชิงบวก คือ ความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Beta = 0.480; t = 9.806; p < 0.001) และแรงจูงใจด้านความต้องการส่วนบุคคล (Beta = 0.146; t = 2.777; p = 0.006) แต่ปัจจัยที่มีผลในเชิงลบ คือ กิจกรรมที่ประกอบจริงในพื้นที่ (Beta = -0.128; t = -2.663; p = 0.008) และประสบการณ์ในการมาเยือน (Beta = -0.111; t = -2.547; p = 0.011) ดังนั้น ควรประชาสัมพันธ์กฎระเบียบการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการใหม่ๆ ในทุกช่องทางเพื่อให้ผู้มาเยือนทราบและปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Jantowat, H., Phongkhieo, N. T., Kaitpraneet, S. 2011. Responses toward regulations and recreational user management measures of visitors to Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai province. Thai Journal of Forestry, 30(2): 39-47. (in Thai)

Kajonsilp, B. 2006. Research Statistics (9th ed.). Nonthaburi: PS Printing House, Nonthaburi, Thailand. (in Thai)

Khaopong, C., Rattana, K., Pattaratuma, A. 2018. Visitors’ satisfaction on facilities and services of Mu Ko Chang National Park: A case study of Mu Ko Rang, Ko Mak sub-district, Ko Kut district, Trat province. Journal of Forest Management, 12(23): 65-76. (in Thai)

Loakaewnoo, T., Phumsathan, S., Phongkhieo, N.T. 2015. Environmental awareness of visitors to Erawan National Park, Kanchanaburi province. Kasetsart Journal-Social Sciences, 36(1): 34-46. (in Thai)

Mathavararug, A. 2002. Tourist’s Knowledge of Ecotourism at Doi Inthanon National Park, Chiang Mai Province. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

National Parks Office. 2022. Statistics of National Park Service Fee, Tourists and Vehicles. https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=20014, 1 May 2022.

Paisarn, N., Emphandhu, D. 2008. Visitors response behaviors to warning signs in Phu Kradueng National Park, Loei province. Thai Journal of Forestry, 27(2): 48-57. (in Thai)

Pollution Control Department. 2022. Study of the Proportion, Origin and Composition of Dust Particles no Larger than 2.5 Microns (PM2.5) in Bangkok. http://air4thai.com/tagoV2/tago_file/books/book_file/6c8b56563dd78218eec09833a7397b1d.pdf, 15 November 2023.

Phumsathan, S., Thongkaew, O., Pongpattananurak, N., Udomwitid, S. 2017. Tourism potential and visitors opinions toward tourism activities in Pha Wang Nam Khiao-Pha Khao Phu Luang forest reserve tourism network, Nakhon Ratchasima province. Journal of Forest Management, 11(21): 13-25. (in Thai)

Prathumthin, S., Phongkhieo, N. 2018. Classification of recreation conflicts in national park areas. In: Proceedings of 56th Kasetsart University Annual Conference: Science and Genetic Engineering, Architecture and Engineering, Agro-industry, Natural Resources and Environment. The Thailand Research Fund, Bangkok, pp. 879-904. (in Thai)

Silangirn, P. 2017. Factors Related to Self Care Behaviors Among Elderly of Phayao Province. M.Ph. Thesis, Thammasat University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Thongkerd, S., Rattana, K., Pattaratuma, A. 2022. Tourist satisfaction towards tourism services at Ramkhamhaeng National Park, Sukhothai province. Thai Journal of Forestry, 41(1): 22-34.

Thaweerat, P. 1997. Research Methods in Behavioral and Social Sciences, 7th ed. Educational and Psychological Testing Office Srinakharinwirot University Prasarnmit, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Harper International Edition, Tokyo, Japan.