การกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน จังหวัดตรัง

Main Article Content

อมรรัตน์ แคล้วศึก
ลัดดาวรรณ เหรียญตระกูล
วันชัย อรุณประภารัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน จังหวัดตรัง ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2565 โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 7 และ 8 ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน โดยใช้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายปัจจัย (MCDA) ในการจัดความสำคัญของปัจจัย จากนั้นจึงนำปัจจัยเหล่านี้ไปกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนมากที่สุด คือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดชัน ความหนาแน่นของประชากร ระยะห่างจากถนน ระยะห่างจากหมู่บ้าน และชุดดิน โดยมีค่าน้ำหนัก 0.35, 0.26, 0.18, 0.11, 0.06, 0.03 และ 0.01 ตามลำดับ ความเสี่ยงต่อการบุกรุกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนจำแนกเป็น 4 ระดับ คือ เสี่ยงมาก เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงน้อย และไม่เสี่ยง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 21.91, 70.65, 5.87 และ 1.57 ตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนของจังหวัดตรังได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Boonyanuphap, C. 2014. Principles of Remote Sensing in Vegetation Ecology and Conservation, 2nd ed. Odeon Store. Bangkok, Thailand. (in Thai)

Chucheep, K. 2018. Principles of Remote Sensing. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Department of Land Development. 2012. Classification of Land Use. Department Land Development, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Department of Marine and Coastal Resources. 2012. Mangrove Forest Resources. Trang, Thailand. (in Thai)

Geo-Informatics and Space Technology Development. 2009. Space Technology and Geoinformatics Textbook. Bangkok, Thailand. (in Thai)

Jakjum, N. 2004. Application of GIS for Determining Risk Area for Encroachment of PhuPan National Park, Sakon Nakhon Province. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Ket-ord, R. 2015. Geomorphological features and drainage patterns in earthquake area, Mae Pung and Mae Lao sub-watershed, Chiang Rai province. Thai Journal of Forestry, 34(2): 42–50. (in Thai)

Labchurat, K. 2022. Expert Forestry Officer Marine and Coastal Resources Office No. 7, Trang Province. Interview. 10 April 2022. (in Thai)

Malzewski, J. 1999. GIS and Multicriteria Decision Analysis. John Wiley & Sons, Inc. New York, USA.

Ministry of Natural Resources and Environment. 2002. Cabinet Resolutions and Laws Related to Coastal Resource Management. Big line company limited. Bangkok, Thailand. (in Thai)

Morakotkheaw, N. 2008. Application of geographic information system to assess risk area of encroachment at PhuPhaMan National Park, Khon Kaen province. Thai Journal of Forestry, 27(2): 89-98. (in Thai)

Praphai, T. 2008. Application of Geo-Information Systems to Analyze Areas at Risk of Encroachment in Conserved Forests and Surrounding Areas of Kaeng Krachan National Park. M.S. Thesis, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Sheakiwong, U. 2012. Mangrove Forest. Saeng Dao Publishing Co., Ltd. Bangkok, Thailand. (in Thai)

Wongsakul, T. 2019. Determining weight criteria for decision making. academic. Journal of Industrial Technology Buriram Rajabhat University, 7(2): 63-71. (in Thai)

Yeroh, F. 2017. Application of GIS and Remote Sensing for Landslide Hazard and Risk in Khaoluang Mountain Range in Nakhon Si Thammarat Province. M.S. Thesis, Prince of Songkhla University, Songkhla, Thailand. (in Thai)