ความผันแปรของปริมาณลิกนินในหวายไทย ๖ ชนิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ปริมาณลิกนิน (lignin) ได้เลือกทำในหวายที่มีลำขนาดใหญ่ ๖ ชนิดคือ หวายข้อดำ (Calamus manan) หวายน้ำผึ้ง (Calamus sp.) หวายกำพวน (C.longisetus) หวายขี้เสี้ยน (C.rundntum) หวายกำ (C.scipionum) และหวายผิวเบ๊าะ (Calamus sp.) ตัวอย่างของลำหวายที่นำมาวิเคราะห์เก็บที่ปล้องที่ ๕ และที่ทุก ๆ ๑๐ ปล้อง ถัดไปจนถึงปลายลำ การวิเคราะห์ลิกนินใช้วิธีการมาตรฐานของ TAPPI standard T 131m - 54 พบว่าปริมาณลิกนิน มีการผันแปรทั้งภายในลำเดียวกัน และในระหว่างชนิด ความฝันแปรของปริมาณลิกนินภายในลำหวาย แต่ละชนิดไม่มีรูปแบบการผันแปรที่แน่นอน ซึ่งแสดงว่าปริมาณลิกนินที่สะสมในลำหวายไม่ขึ้นอยู่กับอายุ คือ ความแก่หรืออ่อนของลำหวาย แต่อย่างไรก็ตามปริมาณลิกนินมีความแตกต่างกันมากในหวายต่างชนิดกัน หวายข้อดำ และหวายน้ำผึ้งมีการสะสมลิกนินน้อยที่สุด คือ ๒๑.๐๔๑ % และ ๒๒.๕๑๒ % ตามลำดับ ในขณะที่หวายกำพวน หวายขี้เสี้ยน และหวายผิวเบ๊าะ มีการสะสมลิกนินในปริมาณที่สูงกว่าคือ ๓๐.๐๖ %, ๒๘.๙๙๘ % และ ๒๘. ๖๐๘ % ตามลำดับ ในทางอุตสาหกรรมเครื่องเรือนจากหวายจัดให้หวายข้อดำ และหวายน้ำผึ้ง ซึ่งมีปริมาณลิกนินน้อยที่สุด เป็นหวายที่มีคุณภาพดีที่สุด ในทางตรงกันข้ามหวายชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีปริมาณลิกนินมากกว่าถูกจัดให้เป็นหวายที่มีคุณภาพรองลงไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า ต้นฉบับที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาต้นฉบับ ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิ์พิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่วารสารวนศาสตร์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรณีมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) แต่เพียงฝ่ายเดียว และหากข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ประสงค์ถอนบทความในระหว่างกระบวนการพิจารณาของทางวารสาร ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการพิจารณาบทความนั้น”