การใช้ประโยชน์พรรณพืชของชาวไทลื้อ ในป่าชุมชนบ้านทาป่าเปา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

Main Article Content

สุธีระ เหิมฮึก
วิชญ์ภาส สังพาลี
จุฑามาศ อาจนาเสียว
นัยนา โปธาวงค์
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงบริบททางวัฒนธรรมการตั้งถิ่นฐาน และพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชุมชนชาวไทลื้อ ในป่าชุมชนหมู่บ้านทาป่าเปา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยทำการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 ในแปลงสำรวจถาวรขนาด 100 x 100 เมตร ซึ่งครอบคลุมสังคมพืชป่าเต็งรังผสมป่าผสมผลัดใบ ในป่าชุมชนของหมู่บ้าน เพื่อสำรวจพรรณพืชทุกชนิด บันทึกการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ร่วมกับการจัดทำเวทีชุมชน จากการศึกษาพบว่า ชาวไทลื้อที่อพยพมาตั้งหมู่บ้านมีการตั้งชุมชนใกล้ลำน้ำที่มีพื้นที่ราบสำหรับเพาะปลูกและใกล้พื้นที่ป่าไม้ จากการสำรวจพบพรรณพืชทั้งหมด 158 ชนิด 104 สกุล 65 วงศ์ เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พืชทั้งหมด 112 ชนิด 85 สกุล 42 วงศ์ จาก 7 กลุ่มการใช้ประโยชน์พบว่า กลุ่มของไม้โครงสร้าง และไม้ฟืนมีจำนวนมากที่สุดถึง 59 ชนิด เช่น ติ้วเกลี้ยง (Cratoxylum cochinchinense) รักใหญ่ (Gluta usitata) ไผ่ซาง (Dendrocalamus membranaceus) และมีการสืบทอดบริบททางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พืชของชาวไทลื้อ เช่น การบันทึกการใช้ประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะการใช้สมุนไพร ทั้งนี้พืชพรรณในป่าชุมชนยังเพียงพอต่อความต้องการในการใช้ประโยชน์ของชาวบ้าน เนื่องจากชุมชนมีกฎระเบียบควบคุมการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนอย่างมีระบบ เช่น การคัดกรองการเก็บหาของป่าจากกรรมการป่าชุมชนก่อนออกจากป่า และการห้ามบุคคลในชุมชนอื่นเข้าเก็บหาของป่า

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง. 2553. ป่าและการป่าไม้. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ชูศรี ไตรสนธิ. 2534. การศึกษาและวิจัยพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทย. ใน รายงานการสัมมนาระดับประเทศ เรื่องพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. โรงพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
เด่น เครือสาร. 2543. การจัดการ การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพืชของชาวม้งในหมู่บ้านผาปู่จอม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เต็ม สมิตินันท์ และวีระชัย ณ นคร. 2534. พฤกษศาสตร์. ใน รายงานการสัมมนาระดับประเทศ เรื่องพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
เต็ม สมิตินันท์. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2557. สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.
นัทธี เมืองเย็น. 2556. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของไทลื้อ และไทวนในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิวัติ เรืองพานิช. 2534. นิเวศวิทยาทรัพยากรธรรมชาติ. โครงการตำราชุดการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เล่มที่ 2, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. 2547. ไทยสิบสองปันนา เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์สยาม. กรุงเทพฯ.
ประชัน รักพงษ์. 2535. การศึกษาหมู่บ้านไทลื้อในจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย, ฝ่ายวิจัยและวางแผน ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม, วิทยาลัยครูลำปาง.
วิชาญ เอียดทอง. 2559. การจัดจำแนกระบบนิเวศตามระบบนิเวศวิทยาพื้นบ้าน, น. 108-109. ใน 8 ทศวรรษ วนศาสตร์ ศาสตร์แห่งชีวิต. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วุฑฒิพันธุ์ สมศรี พสุธา สุนทรห้าว และนุชนาถ มั่งคั่ง. 2559. การบริหารจัดการป่าชุมชนพระพุทธบาทน้อย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารวนศาสตร์ 35 (1): 107-116.
รุ่งทิพย์ สิทธิชัย และยลรวี สิทธิชัย. มปป. วัฒนธรรมไทลื้อ. การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย. แหล่งที่มา: http//www.etatjournal.com., 20 พฤษภาคม 2559.
สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้. 2559. ป่าชุมชน. แหล่งที่มา: http://www.forest.go.th., 15 พฤษภาคม 2559
อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์, ภานุมาศ จันทร์สุวรรณ และสราวุธ สังข์แก้ว. 2556. พรรณไม้พื้นล่าง. บริษัท ไอติงแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด. กรุงเทพฯ.
Fukushima, M., M. Kanzaki, M. Hara, T. Ohkubo, P. Preechapanya and C. Choocharoen. 2008. Secondary forest succession after the cessation of swidden cultivation in the montane forest area in Northern Thailand. Forest Ecology and Management 255: 1994-2006.
Hermhuk, S., W. Sungpalee, A. Panmongkol, D. Marod and A. Yarnvudhi. 2015. Plant Diversity and Utilization on Ethnobotany of local people in Ban Mhong Doi Pui at Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai Province. pp. 1-9. In Conference and Submission Thai Forest Ecological Research Network (T-FERN) 5th: Natural Capital Resources; Development and Conservation. Kasetsart University, Bangkok.
Kent, M. 2012. Vegetation Description and Analysis A Practical Approach. University of Plymouth, England.
Marod, D., U. Kutintara, H. Tanaka and T. Nakashizuka. 1999. Structural Dynamics of a National Mixed Deciduous Forest in Western Thailand. Journal of Vegetation Science 10: 777-786.
Martin, G.J. 1995. Ethnobotany: A methods manual. Cambridge University press, Cambridge.
Noitana, P., S. Saipara and K. Khoomput. 2013. Ethnobotany of the Hmong at Nanoi District, Nan Province. NaresuanPhayao Journal 6 (3): 213-219
Turner, I.M. 2004. The Ecology of Trees in the Tropical Rain Forest. Cambridge University, UK.