การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับในการประเมินสุขภาพของป่าแสม บริเวณอ่าวไทยตอนบน

Main Article Content

ปีรัชม์ ภูมิรัตน์
อฐิษฐ์ เส้งทั่น
พศิน มาประสพ
นฤดล ลิมปนสิทธิชัย
ออ พรานไชย

บทคัดย่อ

          การศึกษาลักษณะทางสุขภาพต้นไม้โดยทั่วไปทำได้ด้วยการประเมินอาการทางสายตาหรือวัดค่า Chlorophyll Fluorescence การขาดตัวบ่งชี้ลักษณะทางสุขภาพต้นไม้ที่นำไปใช้ได้และน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการประเมินสุขภาพต้นไม้ป่าชายเลน การศึกษาครั้งนี้ ติดตามการฟื้นตัวเรือนยอดไม้แสม (Avicennia spp.) หลังจากการระบาดของหนอนแมลงกินใบในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยสำรวจภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดที่เป็นไปได้ในการบ่งชี้ลักษณะทางสุขภาพต้นไม้ป่าชายเลนจากการประเมินภาคพื้นดิน


            วิธีการโดยสำรวจทางอากาศในพื้นที่ศึกษา จำนวน 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 และเมษายน
พ.ศ. 2562 สำรวจลักษณะทางสุขภาพของต้นไม้ภาคพื้นดิน สังเกตอาการที่ปรากฎบาดแผลบริเวณลำต้น เชื้อราปรากฎเป็นดอกเห็ด และร่องรอยหนอนเจาะ เก็บข้อมูลภาคพื้นดินภายในแปลงตัวอย่างขนาด 20 × 20 ม.2
ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อคำนวณช่องว่างระหว่างเรือนยอด และใช้วิธี Ordinary Least Squares เพื่อหาความสัมพันธ์ของการปรากฎปัญหาทางสุขภาพกับการฟื้นตัวของช่องว่างระหว่างเรือนยอด


            ผลการศึกษาพบว่าเรือนยอดของไม้แสมสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังจากถูกแมลงทำลาย ชี้ให้เห็นว่าไม้แสมมีความความยืดหยุ่นสูงต่อการระบาด อย่างไรก็ตาม ในการประเมินสุขภาพของต้นไม้ป่าชายเลนอาจใช้ลักษณะของลำต้นที่พบบาดแผลเป็นตัวบ่งชี้ได้ เนื่องจากการปรากฏอาการสัมพันธ์กับการฟื้นตัวของเรือนยอดอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่า สุขภาพต้นไม้ป่าชายเลนไม่สามารถประเมินด้วยสายตาจากภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว ควรมีการสำรวจทางอากาศที่ได้ภาพความละเอียดสูง จึงสามารถให้ดัชนีชี้วัดที่มีความน่าเชื่อถือ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Arun, P.R. and M. Mahajan. 2012. Ecological costs and benefits of teak defoliator (Hyblaea puera Cramer) outbreaks in a mangrove ecosystem. Mar. Sci. 2: 48–51.

Biswas, O., B. Panja, P.Kr. Garain., S.Kr. Shah, B.Kr. Modak. and B. Mitra. 2017. Hyblaea puera (Cramer, 1777) [Lepidoptera : Hyblaeidae] infestation on Avicennia alba Blume in Sunder ban Biosphere Reserve, West Bengal, India. Proc. Zool. Soc. 71: 331–335.

Eslami-Andergol, L., P.E.R. Dale, J.M. Knight. and H. McCallum. 2015. Approaching tipping points: A focused review of indicators and relevance to managing intertidal ecosystems. Wetlands Ecol. Manage. 23: 791–802.

Fernandes, M.E.B., A.A.M. Nascimento. and M.L. Carvalho. 2009. Effects of herbivory by Hyblaea puera (Hyblaeidae: Lepidoptera) on litter production in the mangrove on the coast of Brazilian Amazonia. J. Trop. Ecol. 25: 337–339.

Lewis, R.R., E.C. Milbrandt, B. Brown, K.W. Krauss, A.S. Rovai, J.W. Beever. and L.L. Flynn. 2016. Stress in mangrove forests: Early detection and preemptive rehabilitation are essential for future successful worldwide mangrove forest management. Mar. Pollut. Bull. 109: 764–771.

Lewis, M. and R. Pryor. 2013. Toxicities of oils, dispersants and dispersed oils to algae and aquatic plants: Review and

database value to resource sustainability. Environ. Pollut. 180: 345–367.

Lewis, M., R. Pryor and L. Wilking. 2011. Fate and effects of anthropogenic chemicals in mangrove ecosystems:

A review. Environ. Pollut. 159: 2328–2346.

Lovelock, C.E., D.R. Cahoon, D.A. Friess, G.R. Guntenspergen, K.W. Krauss, R. Reef, K. Rogers, M.L. aunders, F. Sidik, A. Swales, N. Saintilan, L.X. Thuyen. and T. Triet. 2015. The vulnerability of Indo-Pacific mangrove forests to sea-level rise. Nature 526: 559–563.

Mehlig, U. and M. Menezes. 2005. Mass defoliation of the mangrove tree Avicennia germinans by the moth Hyblaea puera (Lepidoptera:

Hyblaeidae) in Equatorial Brazil. Ecotropica 11: 87–88.

Piyakarnchana, T. 1981. Severe defoliation of Avicennia alba Bl. by Larvae of Cleora injectaria Walker. J. Sci. Soc. Thailand. 7: 33–36.

R Core Team. 2020. R: A Language and Environment for Statistical Computing. Vienna, Austria.

Tran, L.X. and A. Fischer. 2017. Spatiotemporal changes and fragmentation of mangroves and its effects on fish diversity in Ca Mau province (Vietnam). J. Coast. Conserv. 21: 355–368.

Yim, M.W. and N.F.Y. Tam. 1999. Effects of wastewater-borne heavy metals on mangrove plants and soil microbial activities. Mar. Pollut. Bull. 39: 179–186.