มูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

กาญจนา คงเพชรพะเนา
สันติ สุขสอาด
อภิชาต ภัทรธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักท่องเที่ยวและประเมินมูลค่าทางนันทนาการของอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี โดยวิธีคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแบบแบ่งเขต และวิธีคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบุคคล การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 จำนวน 400 คน โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.25 มีอายุเฉลี่ย 40.42 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 63.75 ทำงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง ร้อยละ 37.00 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 36,030.13 บาท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเที่ยวเป็นครั้งแรก ร้อยละ 59.25 เดินทางมาท่องเที่ยวเพราะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 87.75 นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว ร้อยละ 72.00 มาเที่ยวเป็นกลุ่มเฉลี่ย 3 คน ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 96.50 และต้องการกลับมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น ร้อยละ 94.75 การประเมินมูลค่าทางนันทนาการโดยวิธีคิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแบบแบ่งเขต มีมูลค่า 33,624,910.30 บาทต่อปี พบว่า ปัจจัยอิทธิพลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยว คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จากการคำนวณค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบุคคล พบว่ามีมูลค่า 16,119,850.05 บาทต่อปี ปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางมาท่องเที่ยว ได้แก่ ระยะทางจากที่พัก และอายุของนักท่องเที่ยว


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Chankaew, P., Hoamuangkaew, W., Suksard, S. 2013. Valuation of recreational value of Wiang Kosai National Park, Phrae province and Lampang province. Thai Journal of Forestry, 32 (Supplementary issue): 195-203. (in Thai)

Department of Provincial Administration. 2022. Population. https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/ statByYear.php, 9 June 2022. (in Thai)

Isawilanont, S. 1997. Economics of Natural Resource and Environment: Principles and Theories. (2nd edition). Kasetsart University. Faculty of Economics, Bangkok, Thailand. (in Thai)

National Parks Office. 2008. National Park Management Guidelines. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok, Thailand. (in Thai)

National Parks Office. 2020. Namtok Sam Lan National Park. http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1027, 18 January 2020. (in Thai)

National Parks Office. 2021. National Parks in Thailand. http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=21424, 15 December 2021. (in Thai)

National Parks Office. 2022. Dataset of Tourists in National Parks, Fiscal Year 2022. https://catalog.dnp.go.th/dataset/stat-tourism/resource/525f31b3-d572-41fa-822-04f5f3c12ab7, 5 December 2021. (in Thai)

Petcharanon, S. 2010. Environmental Economics. Kasetsart University Press, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Pornpinetpong, K. 2005. Economics valuation of recreational site: Single site model case. Journal of Public Administration, 32(48): 13-32. (in Thai)

Pricharchon, P. 2013. Recreational Value Assessment of Phu Wiang National Park, Khon Kaen Province. M.S. Thesis. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Sompunya, U. 2007. Evaluation of Recreational Values of Natural Tourism Areas: A Case Study of Taksin Maharat National Park in Tak Province. M.S. Thesis. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Suksard, S., Jaemkrajang, A., Pattaratuma, A. 2020. Recreation values of Khao Khitchakut National Park, Chanthaburi province: Zonal travel cost method. Journal of Forest Management, 13(25): 29-40. (in Thai)

Tungkoon, P. 2008. Valuation of Recreational Value of Huay Kaew Aboretum, Chiang Mai Province. M.S. Thesis. Kasetsart University, Bangkok, Thailand. (in Thai)

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introduction Analysis. 3rd. Harpers International Edition, Tokyo, Janpan.