ปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรีที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์

Main Article Content

ณัชชา ลูกรักษ์
ดุสิต อธินุวัฒน์
ธีระ สินเดชารักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตพืชผักอินทรีย์ กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อลดการใช้สารเคมี ปี พ.ศ. 2554 โดยศึกษาปัจจัยบุคคล ความรู้ ทัศนคติ เศรษฐกิจ และสังคมต่อปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ผลการประเมินแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับการห้ามใช้ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีใด ๆ ในระบบการผลิตพืช รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยคอกจะต้องนำมาผ่านกระบวนการหมักก่อนที่จะนำไปใช้ ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีทัศนคติที่ดีต่อเกษตรอินทรีย์ แต่ยังเห็นว่าเกษตรอินทรีย์มีกระบวนการที่ซับซ้อน สร้างความลำบากให้กับเกษตรกร ทั้งเกษตรกรยังเลือกที่จะใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช การศึกษาแนวทางแก้ปัญหาจากการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศไทยแล้ว พบว่าเกษตรกรใช้หลักการจัดการระบบนิเวศ ใช้สารชีวภัณฑ์ และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการจัดการระบบการผลิตพืชภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นต้องถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หลักการจัดการระบบนิเวศ การใช้สารชีวภัณฑ์และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ทดแทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ตลอดจนต้องให้เกษตรกรไปศึกษาดูงานจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกษตรกรเห็นตัวอย่างที่สามารถทำได้จริงและประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแรงจูงใจและเกิดความเชื่อมั่นต่อระบบเกษตรอินทรีย์ จัดเป็นแนวทางให้เกษตรกรนำข้อเท็จจริงหรือความรู้ต่าง ๆ มาพิจารณาไตร่ตรองและปรับใช้ตามแนวทางของเกษตรกรแต่ละคนอย่างเหมาะสม

คำสำคัญ : เกษตรอินทรีย์; ทัศนคติ; ปัจจัยทางสังคม; แบบสอบถาม; การห้ามใช้ปุ๋ยเคมี

Abstract

Study of the problems and barriers of changing in organic vegetable production, a case study of Ratchaburi agriculturist who qualified in the development project: organic farming by using folk wisdom in order to reduce chemical use in 2011. Studying individual, knowledge, attitude, economic, and social factors which affect on the implementation of the organic farming standards were evaluated. According to the questionnaire, the agriculturists lacked of knowledge in chemical fertilizers and any chemicals banned. Organic manure must be taken through the process of fermentation before apply. Although the agriculturists have a positive attitude towards organic farming, but they suggested that organic farming comes with a complex process, makes difficulties for them, and they prefer to use chemical to control their pests. In the solution approach, the interview data cited that the agriculturists who certified by Organic Thailand standards, using ecological principles, bioproducts and beneficial microbe to crop management and the principle of sufficiency economy is recognized. In order to solve the problems, the knowledge of using organic fertilizers, ecosystem management, bioproducts and beneficial microbe substitute the synthetic chemical using must be introduced. The training is required to support agriculturists to observe a successful organic farm by providing them a realistic example to generate interest and confidence in organic farming which represent a guideline for agriculturists to take into consideration in facts or knowledge for individual applied.

Keywords : organic farming; attitude; social factor; questionnaire; chemical fertilizers banned

Article Details

How to Cite
ลูกรักษ์ ณ., อธินุวัฒน์ ด., & สินเดชารักษ์ ธ. (2013). ปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรีที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology, 2(2), 125–133. https://doi.org/10.14456/tjst.2013.17
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัชชา ลูกรักษ์, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ดุสิต อธินุวัฒน์, สาขาวิชาการจัดการเกษตรอินทรีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ธีระ สินเดชารักษ์, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120