การเพิ่มจำนวนกาบหอยแครงโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
กาบหอยแครง (Dionaea muscipula) เป็นพืชกินแมลงที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ ปัจจุบันมีการปลูกเลี้ยงและใช้เป็นไม้ประดับมากขึ้นเนื่องจากความสวยงามของกาบ แต่การขยายพันธุ์ยังทำได้ยาก ดังนั้นการวิจัยนี้จึงเพิ่มจำนวนด้วยการนำส่วนของกาบและใบอ่อนมาเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ โดยเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/2 Murashige and Skoog (MS) ร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโต benzyl adenine (BA) ที่ 0.1, 0.2, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าเนื้อเยื่อกาบหอยแครงสามารถพัฒนาเป็นแคลลัส เกิดขึ้นที่บริเวณขอบและผิวหน้าของเนื้อเยื่อกาบและใบอ่อน และอาหารสูตร 1/2 MS ร่วมกับ BA 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ค่าเฉลี่ยปริมาณแคลลัสและความเข้มของสีแดงของแคลลัสสูงที่สุด และเมื่อย้ายแคลลัสสีแดงนี้ลงอาหารสูตรเดิมอีก 3 ครั้ง ทุก ๆ 3 สัปดาห์ พบว่าอาหารสูตร 1/2MS ที่เติม 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร BA มีผลทำให้แคลลัสพัฒนาเกิดเป็นต้นและรากได้สูงสุด
คำสำคัญ : กาบหอยแครง; benzyl adenine (BA)
Abstract
Dionaea muscipula is a carnivorous plant. This plant is widespread and more ornamental due to their beauty and distinctive features of the leaves. Recently, interested in Dionaea muscipula has been rising and resulting in developing systemic propagation for it. This study aimed to employ tissue culture system to propagate them. Young leaves of Dionaea muscipula were used as explants for in vitro propagation . Explants were cultured on 1/2 Murashige and Skoog (MS) medium supple-mented with various concentration) (0.1, 0.2, 0.5, and 1.0 mg/l) of benzyl adenine (BA). After cultured explants for 6 weeks, red callus had occurred at the edge and surface of explants. 1/2 MS supplemented with 1.0 mg/l BA was the best medium which gave the highest average number and red callus. When subcultured red callus every 3 weeks for 3 times into the same medium, shoots and roots were developed from red callus and the best medium for developed shoot and root was 1/2 MS medium supplemented with 1.0 mg/l BA.
Keywords: Dienaea muscipula; benzyl adenine (BA)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ