การออกแบบทางเศรษฐกิจของแผนภูมิควบคุมรอยตำหนิต่อหน่วยสินค้าภายใต้ลักษณะของกระบวนการผลิต

Main Article Content

กิตติมา คงครบ
กรรธิมา บุญยาชัย
สุนิดา ภู่ธีรอาภา
สุปราณี ลิสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบทางเศรษฐกิจของแผนภูมิควบคุมรอยตำหนิต่อหน่วยสินค้า โดยมีขนาดตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 25 หน่วย และได้นำวิธีการทางสถิติ คือ การควบคุมคุณภาพด้วยแผนภูมิควบคุม มาใช้ในกระบวนการผลิตของการออกแบบทางเศรษฐกิจ โดยศึกษาแผนภูมิควบคุมเชิงคุณลักษณะ พิจารณาเฉพาะแผนภูมิควบคุมรอยตำหนิต่อหน่วยของสินค้า (U chart) โดยจะพิจารณาลักษณะของกระบวนการผลิต 2 กระบวนการ คือ กระบวนการผลิตจะยังคงดำเนินการต่อไปในระหว่างที่ทำการค้นหาสาเหตุความผิดปกติในการผลิต (Duncan process) และกระบวนการผลิตจะหยุดดำเนินการผลิตในระหว่างที่ทำการค้นหาสาเหตุความผิดปกติในการผลิต (Shutdown process) ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายสูญเสียต่อหน่วยเวลาการผลิตที่ต่ำที่สุด จากการศึกษาโดยพิจารณาค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่สูญเสียต่อหน่วยเวลาการผลิตที่ต่ำที่สุดแล้ว พบว่ากระบวนการผลิตแบบ Shutdown process มีค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่สูญเสียต่อหน่วยเวลาการผลิตที่ต่ำกว่า กระบวนการผลิตแบบ Duncan process ซึ่งจะทำให้รายได้สุทธิเฉลี่ยมีค่าสูงที่สุด

คำสำคัญ : การออกแบบทางเศรษฐกิจ; แผนภูมิควบคุมรอยตำหนิต่อหน่วยของสินค้า; กระบวนการผลิตแบบ Duncan process; กระบวนการผลิตแบบ Shutdown process; ค่าคาดหวังของค่าใช้จ่ายที่สูญเสียต่อหน่วยเวลาการผลิต

 

Abstract

This research aims to investigate the economic model for the control chart of defects per product units. The statistical method, quality control with control chart is applied in the production of an economic plan with the sample size of 25 subjects. The research focuses on the defects per unit of product (U chart) by considering the characteristics of two processes. The first process is Duncan Process, which the manufacturing process is still continuing during the search for the cause of the failure in production process. On the other hand, if the production ceased operation during the search for the cause of failure in production process that is so called Shutdown Process. The comparison between the expected costs per unit of production time between these two processes is studied. The outcomes strongly show that Shutdown Process has lower expected costs per production unit than the Duncan Process which will lead to higher net income.

Keywords: economic model; U chart per unit of product; Duncan process; Shutdown process; expected costs per production unit

Article Details

How to Cite
คงครบ ก., บุญยาชัย ก., ภู่ธีรอาภา ส., & ลิสวัสดิ์ ส. (2013). การออกแบบทางเศรษฐกิจของแผนภูมิควบคุมรอยตำหนิต่อหน่วยสินค้าภายใต้ลักษณะของกระบวนการผลิต. Thai Journal of Science and Technology, 2(2), 153–165. https://doi.org/10.14456/tjst.2013.10
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กิตติมา คงครบ, ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

กรรธิมา บุญยาชัย, ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

สุนิดา ภู่ธีรอาภา, ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

สุปราณี ลิสวัสดิ์, ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120