เสถียรภาพทางอุณหภูมิของ Tetraphenylporphyrin และ Metalloporphyrin
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
กลุ่มของ tetraphenylporphyrin (TPP) และอนุพันธ์ของโลหะพอร์ไฟรินต่าง ๆ ที่เกิดจากการเติมโลหะไอออนที่แตกต่างกัน (Cu, Ni, Co, Zn) ได้ถูกสังเคราะห์โดยอาศัยกระบวนการระหว่างอัลดีไฮด์และพิร์โรลในสภาวะการรีฟลักซ์กับกรดโพรพิโอนิก หลังจากทำให้บริสุทธิ์แล้วจะได้ลิแกนด์ต่าง ๆ ตามชนิดของอนุพันธ์ที่ใช้ ลิแกนด์ที่เตรียมได้ถูกนำมาทำปฏิกิริยาต่อโดยการเติมโลหะไอออนผ่านกระบวนการระหว่างลิแกนด์และโลหะอะซิเตทในสภาวะการให้ความร้อนกับ DMF ให้ผลผลิตเป็น M-TPP (M = Cu, Ni, Co, Zn) พิสูจน์เอกลักษณ์และศึกษาสมบัติทางเคมีด้วยเทคนิค UV-Vis spectroscopy, fluorescence spectroscopy และ mass spectrometry ทำการศึกษาเสถียรภาพทางอุณหภูมิของลิแกนด์และสารเชิงซ้อนของโลหะพอร์ไฟรินในช่วงอุณหภูมิ 25-700 °C ผลการศึกษาปรากฏว่า Ni-TPP ให้ค่าเสถียรภาพทางอุณหภูมิที่ 479.10 °C เมื่อเที่ยบกับกรณีที่เป็น TPP อย่างเดียวที่ให้ค่าเท่ากับ 485.99 °C ถึงอย่างไรก็ตามยังให้ค่าที่สูงกว่ากรณีสารเชิงซ้อนของโลหะพอร์ไฟรินชนิดอื่น ๆ
คำสำคัญ :
เสถียรภาพทางอุณหภูมิ; tetraphenylporphyrin; metalloporphyrin
Abstract
A group of tetraphenylporphyrin (TPP) and metalloporphyrin (M-TPP) with their derivatives (M = Cu, Ni, Co, Zn) were prepared by the reaction of aldehyde and pyrrole in the refluxing with propionic acid. Free base ligand was purified and synthesized to form complex with each metal acetates (Cu, Ni, Co, Zn) by refluxing in DMF. The chemical properties of metalloporphyrin were studied by using UV-Vis spectroscopy, fluorescence spectrophotometry and mass spectrometry technique. The thermal stability behaviors, including the possible phase transition of porphyrins, for both free base ligands and metalloporphyrin were analyzed during the heating process at lower temperature (25-700 °C). Ni-TPP exhibited a lower thermal stability (479.10 °C) compared to porphyrin ligand (485.99 °C) but greater than other metalloporphyrins (453.10-474.08 °C).
Keywords:
thermal stability; tetraphenylporphyrin; metalloporphyrin
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ