การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวสายพันธุ์กลายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ข้าวเป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก โดยข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวไทยที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เนื่องจากเมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนิ่มและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แต่มีผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างต่ำและปลูกได้เพียงปีละครั้ง ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงพันธุ์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ และการฉายรังสีก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง งานวิจัยนี้ได้จำแนกพันธุ์ข้าว 4 พันธุ์ และข้าวสายพันธุ์กลายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 7 สายพันธุ์ รวมทั้งหมด 11 ตัวอย่าง ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี โดยใช้ไพรเมอร์แบบสุ่ม 3 ชนิด ซึ่งให้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ชัดเจนและแยกความแตกต่างระหว่างแต่ละตัวอย่างได้ด้วยแถบดีเอ็นเอจำเพาะ โดยไพรเมอร์ C29 สามารถจำแนกข้าวทั้ง 11 ตัวอย่าง เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.83 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายแฮตอาร์เอพีดีมีศักยภาพในการตรวจสอบข้าว
คำสำคัญ :
ข้าว; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; การจำแนก; แฮตอาร์เอพีดี; เครื่องหมายดีเอ็นเอ
Abstract
Rice is an important food crop in the world. Thai jasmine rice cultivar is the most popular due to its pleasant aroma, having soft and tender texture after cooking. The problems are low yield and plant only once a year. The rice breeding programs were induced the genetic variation by using many processes and one method is inducing by radiation. This research was used the high annealing temperature-random amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD) technique to identify 11 samples of 4 rice cultivars and 7 mutated KDML 105 lines. Three random primers could be used for DNA amplification. The result showed differences among 11 samples with specific DNA band. In addition, the C29 random primer was able to identify each sample. A dendrogram based on polymorphic bands showed genetic similarities among rice cultivars and mutated KDML 105 lines with similarity coefficients ranging 0.20-0.83. This research shows that the HAT-RAPD markers have the potential for detection the rice.
Keywords:
rice; genetic relationship; identification; HAT-RAPD; DNA marker
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ