การสร้างรูปแบบดีเอ็นโดยใช้เครื่องหมายเอสอาร์เอพีและไอพีบีเอสของไผ่รวกสยาม (Thyrsostachys siamensis)

Main Article Content

โองการ วณิชาชีวะ
เฟื่องฟ้า สีสร้อย

Abstract

บทคัดย่อ

เครื่องหมายทางโมเลกุลนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญ โดยเฉพาะการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคเอสอาร์เอพี (sequence-related amplified polymorphism) และไอพีบีเอส (inter primer binding site) เพื่อตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมของไผ่รวกสยาม กลุ่มไผ่เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยนำดีเอ็นเอที่สกัดได้จากใบมาใช้ในการศึกษา พบว่าในการทำพีซีอาร์ที่เหมาะสมมีความเข้มข้นของดีเอ็นเอไผ่ต้นแบบ 100 ng และ MgCl2 5 mM จากการทดสอบด้วยไพรเมอร์เอสอาร์เอพี 24 คู่ไพรเมอร์ของเทคนิคเอสอาร์เอพีจะให้แถบดีเอ็นเอชัดเจนทั้งหมด 247 แถบโดยเฉลี่ยแถบดีเอ็นเอเท่ากับ10.29 แถบดีเอ็นเอต่อไพรเมอร์จากการทดสอบโดยเทคนิคไอพีบีเอสใช้ไพรเมอร์ทั้งหมด 20 ไพรเมอร์ พบว่าสามารถสังเคราะห์แถบดีเอ็นเอของไผ่รวกได้ทั้งหมด 145 แถบโดยเฉลี่ยแถบดีเอ็นเอเท่ากับ 7.25 แถบดีเอ็นเอต่อไพรเมอร์สรุปได้ว่าเทคนิคเอสอาร์เอพี และไอพีบีเอสเป็นเทคนิคที่ทำการศึกษาง่ายได้อย่างรวดเร็วสามารถนำมาใช้ในการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของพืชกลุ่มไผ่ได้

คำสำคัญ :

เครื่องหมายทางโมเลกุล; เทคนิคเอสอาร์เอพี; เทคนิคไอพีบีเอส; ไผ่

 

Abstract

Molecular marker is an important tool in biological research, particularly of genetic diversity and evolution of organisms. In this study, molecular SRAP (sequence-related amplified polymorphism) and iPBS (inter primer binding site) markers were applied to assess genetic characterization of Monastery Bamboo (Thyrsostachys siamensis Gamble) one of the most important agricultural economic Bamboo in Thailand. Genomic DNA was extracted from fresh leaf samples. The result clearly showed that at 100 ng template DNA and MgCl2 5 mM concentration are suitable for further PCR analysis. Twenty-four combination primers of SRAP technique were initially screened for analysis and all primers were chosen for further analysis. The SRAP technique, DNA band was 247 DNA fragments by 10.29 per DNA primers. Twenty primers of iPBS makers were primarily screened for analysis and all primers were chosen for further analysis. For iPBS technique, DNA band was 145 DNA fragments by 7.25 per DNA primers. Therefore, SRAP and iPBS are simply, rapid and suitable methods for analysis of genetic study among bamboo species.

Keywords:

molecular marker; SRAP; iPBS; bamboo

Article Details

How to Cite
วณิชาชีวะ โ., & สีสร้อย เ. (2014). การสร้างรูปแบบดีเอ็นโดยใช้เครื่องหมายเอสอาร์เอพีและไอพีบีเอสของไผ่รวกสยาม (Thyrsostachys siamensis). Thai Journal of Science and Technology, 3(1), 45–56. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.13
Section
บทความวิจัย