การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเลย

Main Article Content

พีระวัฒน์ แกล้ววิการณ์
สุเพชร จิรขจรกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์การให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขอบเขตพื้นที่การให้บริการจากศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานีอนามัย โดยพิจารณาปัจจัยด้านความสูงของพื้นผิวจากแบบจำลองความสูงเชิงเลขและเปอร์เซ็นต์ความลาดชัน โดยกำหนดเวลาการเข้าถึงบริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินภายใน 10 นาที ตามข้อกำหนดของสำนักสาธารณฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข และจัดทำเป็นฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ให้บริการจากโรงพยาบาลมีพื้นที่ให้บริการในระยะเวลา 10 นาที มีพื้นที่ 2,795 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 26.62 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพื้นที่การให้บริการของโรงพยาบาลเหมาะสำหรับใช้กับผู้ป่วยขั้นวิกฤตที่จะต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยตรงเนื่องจากมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่จะช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย และจากการวิเคราะห์ครัวเรือนที่อยู่ในเขตนี้จำนวน 53,794 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 64.88 ส่วนพื้นที่การให้บริการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีพื้นที่ให้บริการในระยะเวลา 10 นาที เป็น 5,131 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 48.87 ของพื้นที่ทั้งหมด และจากการวิเคราะห์ครัวเรือนที่อยู่ในเขตนี้จำนวน 78,656 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 94.87 และผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหรือการเพิ่มสถานพยาบาลเพื่อให้มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลยมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์; พื้นที่การให้บริการ; ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน; จังหวัดเลย


Abstract

Application of geographic information system for Service Analysis of Emergency Medical Service Centers in Loei province is aimed to analyze the service area extent of emergency medical centers of hospitals and Tambon Health Promoting Hospitals in the province by considering elevation from the digital elevation model (DEM) and percentage of slope. Access time to the emergency medical centers is given within 10 minutes, according to the Bureau of Public Health Emergency Response, Ministry of Public Health, and prepared into the GIS database. The results shown that the service area of the hospitals had service provided in 10 minutes, with an area of 2,795 km2, accounting for 26.62 % of the total areas. The service areas of the hospitals are fit for critical patients who must be directly taken to the hospitals, for the reason of equipment and tools to help the patients. From the analysis, there were 53,794 households, accounting for 64.88 %, living in this region. For service areas of the Tambon Health Promoting Hospitals, with service provided for a period of 10 minutes, there were areas of 5,131 square kilometers, accounting for 48.87 % of the total areas. Households in this locality, from the analysis, were 78,656, accounted for 94.87 %. The results of this study can be applied to improve the emergency medical services or to increase health care units to provide more coverage areas in Loei province for public service benefits thoroughly.

Keywords: geographic information systems; service area; Emergency Medical Service Center; Loei province

Article Details

How to Cite
แกล้ววิการณ์ พ., & จิรขจรกุล ส. (2014). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่การให้บริการศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเลย. Thai Journal of Science and Technology, 3(3), 137–147. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.8
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ