การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

Main Article Content

พรชัย เอกศิริพงษ์
สุเพชร จิรขจรกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมปี พ.ศ. 2548 และ 2554 โดยเปรียบเทียบระดับความสูงจากข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลข (digital elevation model, DEM) จากข้อมูลรังวัดความสูงภูมิประเทศด้วยแสงเลเซอร์ที่ติดตั้งบนอากาศยาน (light detection and ranging, LIDAR) ที่มีความต่างระดับข้อมูล 80 เซนติเมตร สำหรับนำมาใช้วิเคราะห์ในพื้นที่ราบและข้อมูลคราบน้ำท่วมจากหลักวัดระดับน้ำท่วม ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 504 จุด นำมาประมวลผลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประมาณค่าระดับของผิวน้ำท่วมด้วยเทคนิคการประมาณค่าในช่วง (interpolation) ด้วยสมการ IDW (inverse distance weighted) โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณหาระดับน้ำท่วมด้วยวิธีการวิเคราะห์การซ้อนทับข้อมูล (overlay analysis) เพื่อแสดงผลพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และวิเคราะห์ผลกระทบอาคารที่พักอาศัยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม พบว่าในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีระดับน้ำท่วมสูงสุดที่ระดับ 1.73 เมตร และต่ำสุดที่ระดับ 0.03 เมตร และบริเวณพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก มีการกระจายตัวของชุมชนโดยเฉพาะอาคารที่พักอาศัยที่ยังคงมีประชาชนอาศัยอยู่ กรณีมีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเฉลี่ย 4 คนต่อหลังคาเรือน โดยมีอาคารที่พักอาศัยที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด 1-2 เมตร พบจำนวน 177 หลัง น้ำท่วมปานกลาง 0.5-1 เมตร พบ 7,776 หลัง และน้ำท่วมต่ำกว่า 0.5 เมตร พบ 11,892 หลัง ซึ่งหน่วยงานในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่สามารถนำไปวางแผนและบริหารจัดการช่วยเหลือประชาชนในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์; พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม; เทศบาลนครเชียงใหม่

 

Abstract

Application of geographic information system (GIS) for flood hazard analysis in Chiang Mai Municipality is aimed to study the flood area extent during 2005-2011 by comparing the elevation of the digital elevation model (DEM) from surveying data of terrain elevation, with different levels of 80 cm., by using light detection and ranging (LIDAR) for analysis in the plains. Flood stain data in 2011 on the flood level poles of 504 points has also been processed with GIS to estimate the flood level through interpolation technique with inverse distance weighted (IDW) equation. Such information has been worked out to determine the flood levels by means of overlay analysis in order to show the results of the areas prone to flooding and impact on the residences located in the flood risk areas. It was found that the flood peak in Chiang Mai City Municipality was at 1.73 m. and the lowest level at 0.3 m. In recurrently flooded areas, communities, particularly residential buildings with average of four people per household still living in, were found distributed in the event of early warning. Residential buildings affected by flood water level up to 1-2 meters were 177, fairly flooded between 0.5-1 meter 7,776 and below 0.5 meter 11,892. Agencies in Chiang Mai City Municipality can apply such analysis to assistance planning and management for people in the flood risk areas in appropriate way.

Keywords: geographic information systems; flood hazard analysis; Chiang Mai Municipality

Article Details

How to Cite
เอกศิริพงษ์ พ., & จิรขจรกุล ส. (2014). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. Thai Journal of Science and Technology, 3(3), 148–159. https://doi.org/10.14456/tjst.2014.9
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ