ฮอร์โมนพืชผลิตจาก Pseudomonas fluorescens SP007s ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของคะน้าอินทรีย์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
มีรายงานการส่งเสริมการเจริญเติบโตพืชด้วยจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณรอบรากพืชด้วยกลไกโดยตรงของจุลินทรีย์ในการผลิตฮอร์โมนพืช ได้แก่ indole-3-acetic acid (IAA) และ gibberellins (GA3) การวิจัยครั้งนี้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของฮอร์โมนพืช IAA และ GA3 ซึ่งผลิตจากเชื้อปฏิปักษ์ Pseudomons fluorescens SP007s ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตพืชในระบบการผลิตคะน้าอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่าเชื้อปฏิปักษ์ SP007s สามารถผลิต IAA และ GA3 ได้ปริมาณมากในอาหารเลี้ยงเชื้อ nutrient glucose broth เท่ากับ 47.5 และ 54.7 µg ml-1 ตามลำดับ จากการตรวจสอบด้วยวิธี high-performance liquid chromatography (HPLC) ซึ่งภายใต้ห้องปฏิบัติการและสภาพไร่ พบว่าเชื้อปฏิปักษ์ SP007s สามารถผลิตและปลดปล่อย IAA และ GA3 ที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมเปอร์เซ็นต์การงอก จำนวนรากแขนง ความสูงต้น และความยาวรากของต้นกล้าคะน้าได้ทัดเทียมกับฮอร์โมนสังเคราะห์ IAA และ GA3 ส่งผลให้พืชมีการดูดสารอาหารและน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบประสิทธิภาพในการลดโรคขอบใบทองและใบจุดอัลเทอร์นาเรียถึง 71.3 และ 73.9 % ตามลำดับ หลังมีการคลุกเมล็ดและพ่นใบด้วยเชื้อปฏิปักษ์ SP007s (106 cfu/ml) เมื่อคะน้าอายุ 14, 28 และ 42 วัน ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านอกจากการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีด้วยเชื้อปฏิปักษ์ SP007s ยังมีประสิทธิภาพสูงในการเป็นผู้ผลิตฮอร์โมนพืช
คำสำคัญ : ฮอร์โมนพืช; การหลีกเลี่ยงโรค; การควบคุมโดยชีววิธี; เกษตรอินทรีย์
Abstract
Enhancement of plant growth has previously been reported for some plant growth promoting rhizosphere (PGPR) strains as a direct result of microbial production of plant-growth regulators, including indole-3-acetic acid (IAA) and gibberellins (GA3). This study focused on determining if in vitro IAA and GA3 production by Pseudomonas fluorescens SP007s could promote plant growth activity in organic production system. Results showed SP007s secreted high levels of IAA and GA3 in nutrient glucose broth with 47.5 and 54.7 µg ml-1respectively determined by high-performance liquid chromatography (HPLC). Under laboratory and field conditions, SP007s produced and released the plant growth hormone IAA and GA3 that enhanced the percentage of seed germination, number of lateral root, plant height, and root length same as synthetics IAA and GA3, resulting in plant more efficient improving nutrient and water uptake. Moreover, their effectiveness on black rot and Alternaria leaf spot reduction up to 71.3 and 73.9 % respectively was obtained after seed treated and foliar sprayed with SP007s (106 cfu/ml) at 14, 28, and 42 day-old after planting. These data demonstrate that beside the biocontrol agent, SP007s highly effect perform as planting hormone producer.
Keywords: phytohormone; disease escape; biocontrol; organic farming
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ