การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชครามสกุล Indigofera ด้วยเทคนิคไอเอสเอสอาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
สีครามจากพืชครามหลายชนิดสามารถย้อมผ้าให้เป็นเฉดสีน้ำเงิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนิยมใช้พืชครามสกุล Indigofera เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสีคราม โดยพืชครามสกุล Indigofera มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง งานวิจัยนี้ได้ประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชครามสกุล Indigofera 15 ตัวอย่าง ด้วยเทคนิคไอเอสเอสอาร์ (ISSR) โดยใช้ไพรเมอร์ 35 ชนิด พบว่าไพรเมอร์ 10 ชนิด เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ชัดเจน ปรากฏแถบดีเอ็นเอรวม 225 แถบ ขนาด 515-3,000 คู่เบส ซึ่งให้ความหลากรูปทั้งหมด (100 เปอร์เซ็นต์) เมื่อสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วยโปรแกรม NTSYS-pc รุ่น 2.01e โดยเลือกวิธีจัดกลุ่มแบบ UPGMA พบว่ามีค่าดัชนีความเหมือน 0.09-0.68 และสามารถจัดพืชครามสกุล Indigofera 15 ตัวอย่าง เป็น 7 กลุ่ม ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
จรัลพิสิษฐ์ จ่างพันธุ์, วิจัยครามมีสารต้านอนุมูลอิสระ, แหล่งที่มา : https//www.komchadluek.net, 28 พฤษภาคม 2561.
จาตุรงค์ สัมฤทธิ์, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2557, การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวมีสีด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 3(2): 113-122.
จินต์ ทองสม, ธีระชัย ธนานันต์, นฤมล ธนานันต์, 2558, ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วย ไม้สกุลแวนด้าหมู่เข็มด้วยแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(3): 475-484.
จุฑามาศ ประคำมา, ผ้าหม้อห้อมภูมิปัญญาชาวบ้านสร้างรายได้, แหล่งที่มา : https://sitesmor homkingofshirt.com, 23 สิงหาคม 2562.
ฐิติพร โท้มโสภา, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2557, การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลหวายกลุ่มเอื้องสายด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 3(2): 82-91.
ธีระชัย ธนานันต์, จุฑาทิพย์ พันธ์รูปท้าว และนฤมล ธนานันต์, 2559, การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการระบุพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายหมู่ไนโกรเฮอร์ซูเธและลูกผสมด้วยไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 5(2): 181-189.
นฤมล ธนานันต์, วิภาวรรณ ประสิทธิ์ และธีระชัย ธนานันต์, 2555, การจำแนกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ปรับปรุงจากพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ด้วยเทคนิคแฮตอาร์พีดี, Thai J. Sci. Technol. 1(3): 169-179.
นฤมล ธนานันต์, ศุภรัตน์ บัวบาน และธีระชัย ธนานันต์, 2563, การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชครามสกุล Indigofera โดยใช้เทคนิคสก๊อต, Thai J. Sci. Technol. 9(2): 333-341.
ภัทรา หงษ์ทองดี, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2559, ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของชนิดกล้วยไม้สกุลเอื้องเทียนด้วยไอเอสเอสอาร์, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 24(2): 342-350.
ยศินทร์ กิติจันทโรภาส และปรียา พวงสำลี หวังสมนึก, 2550, ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) สิบสามสายพันธุ์ในประเทศไทย, ว. วิทย์. กษ. 38(6)(พิเศษ): 19-24.
วริสรา แทนสง่า, ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์, 2557, การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides) ด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดีและไอเอสเอสอาร์, Thai J. Sci. Technol. 3(2): 102-112.
ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์, รัชนก ทองเวียง และฐิตามินทร์ คงสำราญ, 2557, การจัดทําลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพืชตระกูลถั่วพันธุ์พื้นบ้าน 4 ชนิด โดยใช้เทคนิค ISSR, ว.วิชาการเกษตร 32(3): 287-295
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล, 2552, เครื่องหมายดีเอ็นเอ : จากพื้นฐานสู่การประยุกต์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Alameri, A.A., Qurainy, F.A., Gaafar, A.R.Z., Khan, S. and Nadeem, M. 2016, Molecular identification of sex in Phoenix dactylifera using inter simple sequence repeat markers, BioMed Res. Int. 2016: Article ID 4530846, 5 p.
Baruah, J., Gogoi, B., Das, K., Ahmed, N.M., Sarmah, D.K., Lal, M. and Bhau, B.S., 2017, Genetic diversity study amongst Cymbopogon species from NE-India using RAPD and ISSR markers, Ind. Crops Prod. 95: 235-243.
Chudasama, K., Bhatt, P., Chudasama, K. and Thaker, V., 2018, Molecular marker study in ornamental plant Euphorbia milii, J. Pharm. Phytochem. 7: 882-888.
Doyle, J.J. and Doyle, J.L. 1987, A rapid DNA isolation procedure for small quantities of fresh leaf tissue, Phytochem. Bull. 19: 11-15.
Igwe, D.O., Afiukwa, C.A., Ubi, B.E., Ogbu, K.I., Ojuederie, O.B. and Ude, G.N., 2017, Assessment of genetic diversity in Vigna unguiculata L. (Walp) accessions using inter-simple sequence repeat (ISSR) and start codon targeted (SCoT) polymorphic markers, BMC Genet. 18: 98.
Kim, K.S., Hwang, W.G., Jang, H.G., Heo, B.G., Suhaj, M., Leontowicz, H., Leontowicz, M., Jastrzebski, Z., Tashma, Z. and Gorinstein, S., 2012, Assessment of indigo (Polygonum tinctorium Ait.) water extracts’ bioactive compounds and their antioxidant and antiproliferative activities, Food Sci. Technol. 46: 500-510.
Mavuso, C., Wu, Y.P., Chen, F.C., Huang, B.H. and Lin, S.J., 2015, Genetic diversity analysis of Jatropha curcas L. Accessions cultivated in Taiwan using inter simple sequence repeats (ISSR) markers, Agrofor. Syst. J. 90: 417-431.
Phong, D.T., Hien, V.T.T., Thanh, T.T.V. and Tang, D.V., 2011, Comparison of RAPD and ISSR markers for assessment of genetic diversity among endangered rare Dalbergia oliveri (Fabaceae) genotypes in Vietnam, Genet. Mol. Res. 10: 2382-2393.
Rohlf, F.J., 2002, NTSYS-pc Numerical Taxonomy and Multivariate Analysis System, Applied Biostatistics, Inc., New York.