ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

เนตรนภัส จันทร์พ่วง
ดุสิต อธินุวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและทัศนคติของบุคลากรสายวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีผลต่อการทำวิจัยและการผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชากรตัวอย่างซึ่งสุ่มตามสมการของ Darwin Hendel พบว่าประชากรตัวอย่างจำนวน 97 จาก 125 คน ตอบแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ ปัจจัยที่ส่งเสริมการทำวิจัย และทัศนคติต่อการทำวิจัย โดยเป็นเพศหญิง 53.6 % เพศชาย 46.4 % ส่วนใหญ่มีสถานภาพแต่งงานแล้ว (49.5 %) มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก (79.4 %) ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ (56.6 %) มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี (29.8 %) รวมทั้งมีภาระงานสอนมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (48.9 %) นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรตัวอย่างมีจำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ < 5 ชิ้นงาน (62.1 %) และมีเวลาการทำวิจัย > 10 ชั่วโมง (32.9 %) เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่ตนเองและใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยประชากรตัวอย่าง 53.2 % มีภาระงานสอนจำนวนมากและ 41.2 % มีข้อจำกัดด้านเครื่องมือและงบประมาณสำหรับใช้ทำวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งบประมาณแผ่นดิน ทุนส่วนตัว และกองทุนวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ประชากรตัวอย่างได้รับการสนับสนุนด้านทักษะการวิจัยจากหน่วยงานในระดับมากและได้รับการสนับสนุนด้านแหล่งข้อมูล สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อนร่วมงาน และค่าตอบแทนจากการทำวิจัยในระดับปานกลาง รวมทั้งประชากรตัวอย่างมีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัยในทุกตัวชี้วัด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าภาระงานสอน ตำแหน่งทางวิชาการ ทักษะการวิจัย แหล่งค้นคว้าข้อมูล ผู้สนับสนุน เพื่อนร่วมงาน และความเชื่อมั่นในตนเอง มีผลต่อการทำวิจัยและการผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์แตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ดังนั้นคณะผู้บริหารควรจัดสรรภาระงานสอนให้เหมาะสมและผลักดันให้บุคลากรสายวิชาการมีศักยภาพในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ยิ่งไปกว่านั้นควรจัดทำนโยบายการวิจัย วัฒนธรรมการวิจัย ระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อเพิ่มจำนวนนักวิจัยรุ่นใหม่และเพิ่มจำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ต่อไป

คำสำคัญ : ฐานข้อมูล Scopus; วิจัย; ระดับโลก; นวัตกรรม


Abstract
 

This study is focusing on the factors and attitude of the members of Faculty of Science and Technology, Thammasat University on doing the research and producing the publications using a questionnaire to collect data following Darwin Hendel‘s equation for the population sampling. The 97 of 125 targeted samples answered the questionnaire including the general information, the number of publications, the research supported factors and the attitude to do the research. The samples group were 53.6 % female and 46.4 % male, most of them have married (49.5 %), Ph.D. educated (79.4 %), and have no an academic position (55.6 %). They have more than 10 years of work experience (29.8 %) and more than 10 h workload per week (48.9 %). According to the assessment of all the questions in the questionnaire, the samples produced < 5 publications within 5 years recorded (62.1 %), carried > 10 h for research (32.9 %) to enhance their knowledge and upgrade the academic position. Where 53.2 % of the sample mentioned that they carried more workload hour, 41.2 % have no scientific equipment and research fund. Most of them got the research fund from the Research Administration Division of Thammasat University, annual government budget, individual budget, and Research Administration Division of Faculty of Science and Technology, Thammasat University. Moreover, they mentions that the organization has supported the researcher skill in high level and supported the data and information resource, facilities, co-worker, and compensation in medium level. Subsequently, the samples showed highly good attitude to do the research in all topics. Data analysis revealed that workload hour, academic position, researcher skill, data and information resource, supporter, co-worker and researcher confidence significantly showed the effect to the number of publication at the 0.05 level. Therefore, the faculty administrator should be allocated the suitable workload hour and pushed them to upgrade the academic position potential. Moreover, research policy, research culture, mentor system, research excellence center and research facilities need to develop and provide to enhance the number of new or young researcher and their publications. 

Keywords: Scopus database; research; world class; innovation

Article Details

How to Cite
จันทร์พ่วง เ., & อธินุวัฒน์ ด. (2016). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Thai Journal of Science and Technology, 5(1), 1–19. https://doi.org/10.14456/tjst.2016.7
Section
วิทยาศาสตร์กายภาพ