ผลกระทบของดินเค็ม ดินเป็นกรด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียวต่อพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาผลกระทบของดินเค็มและดินกรดและแมลงศัตรูที่สำคัญของข้าวต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ในโรงเรือนทดสอบภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการปลูกต้นข้าวของพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์ ขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 และ กข 47 ในกระถางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว ที่บรรจุดินเป็นกรด (pH = 4) และดินเค็มระดับ 6 และ 8 bars เพื่อหาผลกระทบต่อองค์ประกอบผลผลิตของข้าวในระยะออกรวง และการเจริญเติบโตของต้นกล้าจนถึงอายุ 15 วัน ตามลำดับ การทดสอบผลกระทบของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวทำโดยการปล่อยแมลงทั้ง 2 ชนิด ให้ไปดูดกินต้นกล้าอายุ 7 วัน ที่ปลูกในกระถาง โดยมีการวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 ซ้ำ ซ้ำละ 5 กระถาง กระถางละ 10 ต้น ในการทดสอบผลกระทบของดินเป็นกรดในระยะออกรวง ปลูกกระถางละ 3 ต้น และการทดสอบผลกระทบของดินเค็มในระยะกล้า ปลูกกระถางละ 5 ต้น จากผลการวิจัยพบว่าพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์ได้รับผลกระทบจากดินเป็นกรดน้อยที่สุด โดยมีจำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง และน้ำหนัก 100 เมล็ด (กรัม) ลดลงเพียง 3.4, 2.6, 4.1 และ 0.03 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับดินเป็นกลาง สำหรับผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าเมื่อปลูกในดินเค็มพบว่าพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์มีผลกระทบน้อยที่สุด โดยมีจำนวนต้นที่งอกความสูงของต้น (ซม.) และน้ำหนักต้น (กรัม) ที่ลดลงเมื่อปลูกในดินเค็มระดับ 6 และ 8 bars เป็น 1.2, 1.7, 3.2 และ 4.8, 4.1 และ 8.0 ตามลำดับ ส่วนผลกระทบที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวก็ปรากฏว่าพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์มีระดับความรุนแรงของการถูกทำลายจากเพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลน้อยกว่า (ระดับ 5) พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (ระดับ 7) เล็กน้อย โดยพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์ถูกจัดเป็นพันธุ์ค่อนข้างอ่อนแอ (moderately susceptible, MS) ในขณะที่พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ถูกจัดอยู่ในพันธุ์ที่อ่อนแอ (susceptible, S) ต่อแมลงศัตรูทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าว
คำสำคัญ : ดินเค็ม; ดินเป็นกรด; เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล; เพลี้ยจักจั่นสีเขียว; พันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์
Abstract
The four rice varieties i.e. Thammasat aromatic rice variety, KDML 105, PTT1 and RD 47 were used in this experiment for studying the impacts of saline soil, acid soil, brown plant hopper and green leaf hopper on their growth and yield components under the green house conditions. Seeds from each variety were grown in each replication of five 12-inches pots with acid soil, each pot with 3 seeds for determining the impact of acid soil (pH = 4) on the varietal performance based on their yield components. Seeds of each variety were grown in each replication of five 12-inches pots with saline soil, each pot with 5 seeds for evaluating its impact on the growth of rice seedlings. The brown plant hopper and green leaf hopper 2-3 instras were placed to feed on 7-day rice seedlings of each variety for eight days under the insect-proven cages in order to see their impacts on the survival of rice seedlings. All experiments had been done under the CRD with 4 replications for the statistical analysis at Faculty of Science and Technology, Thammasat University during August and November 2014. The results revealed that Thammasat aromatic rice variety had the least impacts from acid soil, saline soil, brown plant hopper and green leaf hopper as compared with the rest of three varieties. Thammasat aromatic rice variety had the least impact from acid soil by having decreases in numbers of plants per hill, panicles per hill, seeds per panicle, and 100-seed weight (g) at 3.4, 2.6, 4.1 and 0.03, respectively. The least impact from 6 and 8 bars saline soils caused Thammasat aromatic rice variety to decrease the number of germinated seeds and plant weight (g) at 1.2, 1.7, 3.2 and 4.8, 4.1, 8.0, respectively. In terms of brown plant hopper and green leaf hopper infections, Thammasat aromatic rice variety was tested to be moderately susceptible while KDML 105 was susceptible.
Keywords: saline soil; acid soil; brown plant hopper; green leaf hopper; Thammasat aromatic rice variety
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ