คุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
คุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ดข้าวนับเป็นสิ่งสำคัญต่อการซื้อขายข้าวโดยทั่วไป พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีทั้งทางกายภาพและเคมีก็จะมีราคาของเมล็ดพันธุ์และข้าวสารสูง เนื่องจากคุณภาพดังกล่าวจะส่งผลให้คุณภาพการสีข้าว การหุงต้ม และการรับประทานดีตามไปด้วย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพทั้งทางภายภาพและเคมีของเมล็ดข้าวพันธุ์หอมธรรมศาสตร์นั้น นอกจากจะช่วยในการจำแนกลักษณะประจำของพันธุ์แล้ว ยังจะช่วยในการกำหนดราคาและส่งเสริมให้เกษตรได้ปลูกแพร่หลายกันมากขึ้น ลักษณะทางกายภาพของเมล็ดที่ทำการวิเคราะห์ ได้แก่ ความยาว ความกว้าง ความหนา และน้ำหนัก 100 เมล็ด ของข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวสาร โดยการวัดและชั่งน้ำหนักด้วยการเปรียบเทียบกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่มีคุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ดสูงมาก จากผลการวิเคราะห์ตรวจสอบพบว่าพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์มีคุณภาพทางกายภาพของเมล็ดทุกลักษณะสูงเทียบเท่ากับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยมีความยาว ความกว้าง ความหนา และน้ำหนัก 100 เมล็ดของข้าวสารเป็น 7.2 มม., 2.0 มม., 1.5 มม., 2.59 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะต่าง ๆ 7.1 มม., 2.0 มม., 1.5 มม., 2.58 กรัม ตามลำดับ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าทั้งสองพันธุ์ต่างก็มีเมล็ดลักษณะเรียวยาวตามความต้องการของตลาด ในด้านลักษณะท้องไข่นั้นปรากฏว่าข้าวทั้ง 2 พันธุ์ มีระดับคะแนนท้องไข่น้อย (ระดับ 1) เท่ากัน สำหรับคุณภาพทางเคมีของเมล็ดนั้นพบว่าพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ต่างก็มีคุณภาพที่ดีเท่าเทียมกันในทุกลักษณะ โดยเมล็ดของพันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์มีปริมาณอมัยโลส อัตราการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก และปริมาณสารความหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2 AP) เป็น 15.74 %, 1.56 เท่า และ 2.57 ppm ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีปริมาณของอมัยโลส อัตราการยืดตัวของแป้งสุก และปริมาณสารความหอม 2-acetyl-1-pyrroline เป็น 15.70 %, 1.54 เท่า และ 2.5613 ppm ตามลำดับ ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าข้าวทั้งสองพันธุ์มีคุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ดที่ดีมาก กล่าวคือ มีลักษณะเมล็ดข้าวเรียวยาว และลักษณะทางเคมีของเมล็ด ซึ่งจะส่งผลให้พันธุ์ข้าวทั้งสองมีข้าวสุกจากการหุงต้มที่อ่อนนุ่มและมีกลิ่นหอมเท่าเทียมกัน
คำสำคัญ : คุณภาพทางกายภาพและเคมีของเมล็ด; พันธุ์ข้าวหอมธรรมศาสตร์; พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105; ลักษณะท้องไข่; ปริมาณอมัยโลส; ปริมาณสาร 2AP
Abstract
Since the prices of rice seeds and milled rice are determined by the physical and chemical qualities of grain, the objectives of this research were to analyze both physical and chemical grain qualities of Thammasat aromatic rice variety as compared with those of Khao Dawk Mali 105 rice variety. The results showed that the two rice varieties had little white abdomen (level 1) and had the same good physical and chemical grain qualities of 7.2 and 7.1 mm grain lengths, 2.0 and 2.0 mm grain widths, 1.5 and 1.5 mm grain thicknesses, 2.59 and 2.58 g/100 grain weights, 1.56 and 1.54 folds in cooked rice elongations, 15.74 and 15.70 % amylose contents, 2.5740 and 2.5613 ppm 2-acetyl-1-pyrroline, respectively. Such chemical grain qualities must result in good cooking and eating qualities of cooked rice.
Keywords: physical and chemical qualities of seed; Thammasat aromatic rice variety; Khao Dawk Mali 105 rice variety; white abdomen; amylose content, 2 AP content
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ