การคัดกรองแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้ำพริก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
น้ำพริกเป็นอาหารของคนไทยที่ประกอบไปด้วยวัตถุดิบ เครื่องปรุง และสมุนไพรต่าง ๆ หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แบคทีเรียกรดแลคติกที่สามารถพบได้ในอาหารที่เกิดจากการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดแลคติกที่สามารถช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาอาหารและสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงคัดกรองแบคทีเรียกรดแลคติกจากน้ำพริกโดยเพาะเลี้ยงในอาหาร de Man Regosa Sharpe agar (MRS) ที่มี 1 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียมคาร์บอนเนต (CaCO3) จากน้ำพริกปลาร้าและน้ำพริกหนุ่ม ซึ่งพบแบคทีเรียกรดแลคติกทั้งหมด 11 และ 5 ไอโซเลต ตามลำดับ เมื่อตรวจสอบลักษณะสัณฐานและทดสอบทางชีวเคมีแล้วพบว่ามีความมั่นใจว่าเป็นแบคทีเรียกรดแลคติก สามารถแบ่งเป็นสกุลต่าง ๆ ได้แก่ Lactobacillus spp. และ Weisella spp. เป็นต้น โดยจะนำไปตรวจสอบลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอบริเวณ 16S rDNA เพื่อยืนยันชนิดและระบุสายพันธุ์ต่อไป
คำสำคัญ : การคัดกรองแบคทีเรีย; แบคทีเรียกรดแลคติก; น้ำพริก
Abstract
Chilli pastes are the nutritious food of Thailand which included many raw materials, which are composed spices and herbs. They have benefit of microorganism such as lactic acid bacteria that found in no oxygen food fermentation. Therefore, these products have lactic acid which preserve the shelf life of food and inhibit the pathogen and microbial spoilage. This study, we focused on screening and identified lactic acid bacteria from chilli pastes that grown in de Man-Regosa Sharpe agar (MRS) added with 1 % CaCO3. The result showed that 11 and 5 isolates of bacteria were found clear zone on agar in fermented fish chilli paste and Northern Thai green chilli paste, respectively. These isolates were screened and identified using Gram’s strain and sugar fermentation for investigating bacterial morphology and biochemistry, so we found Lactobacillus sp. and Weisella sp. On further, we can certainly using 16S rDNA nucleotide sequence for investigating bacterial strains.
Keywords: screening of bacteria; lactic acid bacteria; chilli paste
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ