การประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและการจำแนกกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีกลุ่มใบสีเขียวด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน rpoC1 และชิ้นดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างยีน trnH กับ psbA
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ประเทศไทยพบรองเท้านารีเพียงสกุลเดียว คือ Paphiopedilum จากทั้งหมด 6 สกุล ที่พบทั่วโลก ซึ่งได้รับความนิยมในการปลูกเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยลักษณะที่สวยงามจึงมีการปลูกเพื่อการค้า โดยรองเท้านารีแต่ละชนิดมีลักษณะคล้ายกัน ดังนั้นการจัดจำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะสัณฐานเพียงอย่างเดียวจึงค่อนข้างยาก งานวิจัยนี้ได้จำแนกกล้วยไม้รองเท้านารี 20 ชนิด ด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน rpoC1 และชิ้นดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างยีน trnH กับ psbA เมื่อวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของทั้ง 2 บริเวณ ร่วมกัน และจัดกลุ่มแบบ maximum likelihood โดยใช้โปรแกรม MEGA7 พบว่าประสิทธิภาพในการจัดจำแนกสูงกว่าการใช้เพียงบริเวณเดียว อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังจำแนกได้ไม่ครบทุกชนิด ดังนั้นจึงควรใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณอื่นร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกให้สูงขึ้น
คำสำคัญ : สกุลรองเท้านารี; ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม; การจำแนก; ยีน rpoC1; ชิ้นดีเอ็นเอที่อยู่ระหว่างยีน trnH กับ psbA
Abstract
In Thailand, there is only one genus of Paphiopedilum from six genera worldwide which are very popular in planting due to their attractiveness and commercial point of view. Most of Paphiopedilum are similar in morphological characters hence it is very difficult to classify them using morphology. This research aims to identify and assess the genetic relationship of 20 Paphiopedilum species using nucleotide sequences of rpoC1 gene and trnH-psbA intergenic spacer region. According to analyzing data of two regions combining, and grouping by maximum likelihood method using MEGA7, it revealed an improve efficiency of Paphiopedilum classification, compared to that of one region. However, this study cannot be applied to identify 20 species, other promising nucleotide sequences should be introduced to increase efficiency of classification.
Keywords: Paphiopedilum; genetic relationship; identification; rpoC1 gene; trnH-psbA intergenic spacer region
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ