ค่าทางสถิติสำหรับกำหนดความสัมพันธ์แบบพี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกันจากการตรวจดีเอ็นเอลำดับซ้ำบนออโทโซม จำนวน 15 ตำแหน่ง ในคนไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
รายงานนี้เป็นการศึกษาค่าทางสถิติของความสัมพันธ์แบบพี่-น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน (full-sibling) จากการตรวจดีเอ็นเอลำดับซ้ำบนออโตโซมจำนวน 15 ตำแหน่ง โดยคำนวณค่า likelihood ratio (LR) ในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน (n=226 คู่) และกลุ่มที่ไม่มีความสัมพันธ์กันซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มที่จับคู่แบบสลับ (n=145 คู่) และกลุ่มที่จับคู่แบบสุ่ม (n=200 คู่) พบว่าการกระจายของค่า combined likelihood ratio (CLR) มี 3 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงที่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์กันจริง มีค่ามากกว่า 49.6034 (2) ช่วงที่ไม่สามารถสรุปความสัมพันธ์ได้ มีค่าระหว่าง 0.0011 ถึง 49.6034 และ (3) ช่วงที่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กัน มีค่าน้อยกว่า 0.0011 สรุปงานวิจัยนี้มีการนำเสนอช่วงของค่า CLR ที่สามารถใช้ในการระบุความสัมพันธ์ของพี่-น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกันได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจวิเคราะห์ด้านนิติพันธุศาสตร์ในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ของการเป็นพี่-น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน
คำสำคัญ : พี่-น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน; ดีเอ็นเอ; นิติพันธุศาสตร์
Abstract
The current report determined full-sibling relationship based upon 15 autosomal STR loci in Thai individuals using statistic values of likelihood ratio (LR). There are two groups of the samples studied. The first group is true full sibling (related group) (n=226 related pairs) and the second group is unrelated group including shuffled pair group (n=145 pairs) and random pair group (n=200 pairs). The results demonstrated three ranges of combined likelihood ratio (CLR) values including (1) true relationship group: CLR is greater than 49.6034, (2) uninterpretable group: CLR is between 0.0011 - 49.6034 and (3) non-related group: CLR is less than 0.0011. For summary, this study proposed CLR ranges for determination of full-sibling relationship that is useful for DNA investigation in forensic genetics.
Keywords: full-sibling; DNA; forensic genetics
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ