พฤติกรรมการทำลายข้าวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การระบาดและการเป็นแมลงพาหะนำโรคไวรัสข้าวของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นับเป็นปัญหาสำคัญของกระบวนการปลูกข้าวในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางของประเทศไทยและพื้นที่ปลูกข้าวเอเชีย ซึ่งส่งผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างต่อผลผลิตข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกตั้งแต่ระดับ 10-100 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่นาชลประทาน นาหว่านน้ำตม และนาปรัง และตั้งแต่ระดับ 5-60 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่นาดำและนาปี ตามลำดับ กลไกการทำลายข้าวของแมลงสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของต้นข้าวทำให้ใบเหลืองซีดและต้นข้าวแห้งตาย (ฮอพเพอร์เบิร์น) โดยสามารถถ่ายทอดไวรัสโรคข้าวได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นข้าว เนื่องจากเป็นแมลงชนิดปากเจาะดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากท่อน้ำและท่ออาหารของต้นข้าว ทำให้ได้รับธาตุอาหารพืชและไวรัสจากน้ำเลี้ยงพืช โดยธาตุอาหารพืชจะถูกลำเลียงผ่านระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ของแมลง ซึ่งจะวางขนานไปตามความยาวของลำตัวจนถึงทวารหนัก และไวรัสจะมีการเพิ่มจำนวนภายในอวัยวะภายในของแมลง จากนั้นธาตุอาหารพืชและไวรัสจะไหลเวียนเข้าสู่กระแสโลหิตของแมลง ซึ่งเป็นระบบหมุนเวียนโลหิตแบบเปิด ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารต่าง ๆ เพื่อเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของแมลง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อต้นข้าวและแมลงพาหะแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารจัดการเพื่อความสมดุลของระบบนิเวศน์ในนาข้าว และภาพรวมในระดับเศรษฐกิจทั้งระดับจุลภาคและมหภาค การบูรณาการข้อมูลทางด้านชีววิทยา กีฏวิทยา ไวรัสพืชวิทยา ระบาดวิทยา และพฤติกรรมการทำลายข้าวของแมลงพาหะและไวรัสโรคข้าว จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำคัญสำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมในการบริหารจัดการเพื่อการป้องกัน ควบคุม และกำจัดแมลงพาหะและไวรัสโรคข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดอย่างยั่งยืน รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต
คำสำคัญ : เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล; โรคไวรัสข้าว; การถ่ายทอดไวรัสโรคข้าว; พฤติกรรมการทำลายข้าว
Abstract
The outbreak and rice viral transmission of brown planthoppers are the major problem in rice cultivation of the central irrigated rice field of Thailand and neighboring countries. They are affecting and causing widespread damages to rice yields for domestic consumption and exports. The ranges of damages are from 10 to 100 % of irrigated rice, wet-seeded rice and off-season rice field, and from 5 to 60 % of wetland rice and rained rice field. Insect damage mechanism can cause changes in physical appearance of rice plants, yellowing and drying leaves (hopperburn) and rice viral transmissions at all stages of rice plant growth because it is the sap-sucking insect, which sucks the rice sap from the xylem and phloem of the rice plants. The insect gets plant nutrients and rice viruses from rice sap and transports through the complete digestive tract of insects, which paralleled to the length of anus body. The rice virus replicates within the insect's internal organs. After that, the plant nutrients and rice viruses circulate into the bloodstream of insect, which is an open circulatory system for transporting various nutrients to its tissues. In addition, it affects rice plants, insect vectors, and the management system of ecological balance in rice fields and the overall of micro and macroeconomics. The integration of biology, entomology, plant virology, epidemiology, and feeding behavior of insect vectors and rice viral diseases, will be an important preliminary data for establishing the concrete strategy to protect, control and eliminate the insect vectors and rice viral diseases. This would result sustainable effectiveness, relevant to the current situation and in the future.
Keywords: brown planthopper; rice viral diseases; rice viral transmission; rice feeding behavior
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ