การพัฒนาคุณค่าทางโภชนะของรำสกัดน้ำมันเพื่อเป็นอาหารสัตว์ด้วยยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะ และค่าการย่อยได้ในห้องปฏิบัติการของรำสกัดน้ำมันที่หมักร่วมกับน้ำยีสต์จากโรงงานผลิตเบียร์ ที่ระดับ 0, 10, 20 และ 30 %DM หมักไว้ที่ระยะเวลา 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าคุณค่าทางโภชนะของรำสกัดน้ำมันที่หมักร่วมกับยีสต์ที่ระดับและระยะเวลาต่าง ๆ มีค่าอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น (p < 0.05) รวมทั้งมีปริมาณวัตถุแห้งและ ADF ลดลง (p < 0.05) ขณะที่การหมักรำสกัดน้ำมันด้วยยีสต์ที่ระดับ 30 % ระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ทำให้มีค่าโปรตีนสูงที่สุดอยู่ในช่วง 25.03-25.42 % และการหมักรำสกัดน้ำมันด้วยยีสต์ที่ระดับ 30 % ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ทำให้มีค่า NDF ต่ำที่สุดอยู่ในช่วง 43.26-43.35 % สำหรับค่าการย่อยได้ในกระเพาะรูเมนพบว่าการหมักรำสกัดน้ำมันร่วมกับยีสต์ที่ระดับ 30 % เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำให้ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรียวัตถุมีค่าสูงที่สูด คือ 56.97 และ 55.36 % ตามลำดับ ขณะที่การหมักรำสกัดน้ำมันร่วมกับยีสต์ 30 % ระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ ทำให้ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้งในสัตว์กระเพาะเดี่ยวมีค่าสูงที่สุด (p < 0.05) อยู่ในช่วง 62.63-62.86 % และการใช้ยีสต์ 30 % หมักที่ระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ ช่วยทำให้ค่าการย่อยได้ของอินทรียวัตถุในสัตว์กระเพาะเดี่ยวมีค่าสูงที่สุด (p < 0.05) อยู่ในช่วง 62.11-62.51 % การศึกษานี้จึงสรุปว่าการใช้ยีสต์ที่ระดับ 30 % หมักเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำให้รำสกัดน้ำมันมีค่าโภชนะเพิ่มขึ้น และการย่อยได้ในกระเพาะรูเมนและการย่อยได้ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวเพิ่มขึ้นสูงที่สุด
คำสำคัญ : รำสกัดน้ำมัน; ยีสต์เหลือทิ้งจากโรงงานผลิตเบียร์; คุณค่าทางโภชนะ; การย่อยได้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
บรรจบ ไชยโยธา, 2542, การศึกษาการใช้รำสกัดน้ำมันและรำสตาบิไลซ์ ทดแทนรำละเอียดในอาหารไก่เนื้อและนกกระทา, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ปิ่น จันจุฬา และอัจฉรา เพ็งหนู, 2554, การผลิตและการใช้กากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันเพิ่มโปรตีนโดยกระบวนการหมักด้วยเชื้อยีสต์เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 39 น.
วลัยลักษณ์ แก้ววงษา, 2554, การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์แซคคาโรไมเซส เซรีวิซิเอ เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับแพะเนื้อ, สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา, 126 น.
สินีนาฏ พลโยราช และเมธา วรรณพัฒน์, 2558, ศักยภาพในการใช้ยีสต์เป็นแหล่งโปรไบโอติกส์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง, แก่นเกษตร 43: 191-206.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, 2560, ข้าว, สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2560, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สิทธิศักดิ์ คำผา, อุทัย โคตรดก และสมมาศ อิฐรัตน์, 2553, การศึกษาการเพิ่มคุณค่ากากมันสำปะหลังหมักยีสต์-มาเลทและใบมันสำปะหลังเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้นที่มีมันเส้นเป็นองค์ ประกอบระดับสูงต่อกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนและประสิทธิภาพการสังเคราะห์จุลินทรีย์โปรตีนในโคเนื้อ, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม, 102 น.
AOAC, 1990, Official Method of Analysis, 15th Ed., Association of Official Analytical Chemists, Arlington, Virginia.
Boisen, S., 1991, A Model for Feed Evaluation on In Vitro Digestible Dry Matter and Protein, pp. 135-145, In Fuller, M.F. (Ed.), In vitro Digest in Pigs and Poultry, Common Wealth Agriculture Bureaux International, Slough.
Goering, H.K. and van Soest, P.J., 1970, Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagents, Procedures and Some Applications), U.S. Government Printing Office, Washington, DC., 24 p.
Kamphayae, S., Kumagai, H., Angthong, W., Narmseelee, R. and Bureenok, S., 2017, Effects of different ratios and storage periods of liquid brewer’s yeast mixed with cassava pulp on chemical composition, fermentation quality and in vitro ruminal fermentation, Asian Australas. J. Anim. Sci. 30: 470-478.
Krochta, J.M., Baidwin, E.A. and Nisperos-Carriedo, M.O., 1994, Edible Coating and Film Improve Food Quality, Technomic Publishing Company, Inc., Pennsylvania, 379 p.
Raimbault, M., 1998, General and microbiological aspects of solid substrate fermentation, EJB Electron. J. Biotechnol. 1: 21-32.
SAS, 2004, STAT User’s Guide Release 9.1.3, SAS Inst., Inc., New York, 220 p.
Srichana, D., Suttitham, W., Thongsunthiah, P., Panja, P. and Jariyapamornkoon, N., 2014, Neutrients and ruminal digestibility of baby corn by-product silages under different harvesting medthods, Thammasat Int. J. Sci. Technol. 19(2): 30-36.
van Zyl, W.H., Lynd, L.R., den Haan, R. and McBride, J.E., 2007, Consolidated bioprocessing for bioethanol production using Saccharomyces cerevisiae, Adv. Biochem. Eng. Biotechnol. 108: 205-235.