ผลของการสกัดด้วยเอทานอลและการทำให้บริสุทธิ์บางส่วนต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของแก่นฝาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของเอทานอลที่ใช้ในการสกัดแก่นฝางต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยสกัดแก่นฝางด้วย 95%, 75% และ 50% เอทานอล และสกัดให้ได้สารบริสุทธิ์บางส่วนด้วยน้ำ ไดคลอโรมีเทน และเอทิลอะซิเตท นำสารสกัดที่ได้ไปวัดประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีการทางเคมี นอกจากนี้ยังหาปริมาณรวมของฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าปริมาณฟีนอลิกรวมและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากแก่นฝางขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของเอทานอลที่ใช้สกัด และการสกัดสารให้บริสุทธิ์บางส่วนด้วยเอทิลอะซิเตทมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า การสกัดด้วย 75% เอทานอลให้สารสกัดที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยที่สารสกัดหยาบที่สกัดด้วย 75% เอทานอลนั้นมีปริมาณฟีนอลิกรวมมากที่สุด ซึ่งมีฤทธิ์การต้านอนุมูล DPPH และ ABTS•+ (ค่า IC50 ต่ำ) และสามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในหลอดทดลอง (14.21±0.47 µg/mL) นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณฟีนอลิกรวมมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.01)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ