สารพฤกษเคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบบัวบกโคกตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมี วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu’s reagent ในการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีการนำส่วนหัวของบัวบกโคก มาใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยและบำรุงร่างกาย นอกจากนี้ยังพบว่า มีการนำมาใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าและผิวกาย หากแต่ยังไม่พบการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยยืนยันข้อมูลดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงนำหัวบัวบกโคกจากป่าชุมชนในเขตตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มาสกัดด้วยน้ำและ
เอทานอล และทดสอบองค์ประกอบทางพฤกษเคมี พบว่าสารสกัดหยาบจากน้ำ มีสาร
ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน แทนนิน และอัลคาลอยด์ ส่วนสารสกัดหยาบจากเอทานอลพบเพียง
อัลคาลอยด์ ผลการทดลองที่แตกต่างกันแสดงให้เห็นว่าตัวทำละลายสามารถละลายสารออกจากตัวอย่างได้แตกต่างกัน เมื่อนำสารสกัดทั้งสองไปวิเคราะห์หาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu’s reagent พบว่า สารสกัดหยาบที่สกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณสารประกอบ
ฟีนอลิกทั้งหมดสูงกว่าสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยน้ำคือ 1,067.82 และ 635.29 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อ 100 กรัมสารสกัด ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองสอดคล้องกับการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ซึ่งพบว่า ค่า IC50 ของสารละลายสารสกัดหยาบจาก
เอทานอลมีค่าน้อยกว่าสารสกัดหยาบจากน้ำ แสดงค่า IC50 แสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบจาก
เอทานอลมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระดีกว่า แต่สารสกัดหยาบทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าสาร BHA (Butylated hydroxyanisole) ซึ่งเป็นสารควบคุมเชิงบวกในการทดลองนี้ ซึ่งค่า IC50 ของสาร BHA มีค่าเท่ากับ 14.04 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากหัวบัวบกโคก แสดงให้เห็นว่าหัวบัวบกโคกเป็นพืชที่มีศักยภาพที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
Anggraini, T., Wilma, S., Syukri, D. and Azima, F., 2019, Total Phenolic, Anthocyanin, Catechins, DPPH Radical Scavenging Activity, and Toxicity of Lepisanthes alata (Blume) Leenh, Int J. Food Sci. 2019: 1-7.
Blanchfield, J. T., Sands, D. P., Kennard, C. H., Byriel, K. A. and Kitching, W., 2003, Characterisation of alkaloids from some Australian Stephania (Menispermaceae) species, Phytochemistry. 63(6): 711-720.
Buachoon, N. and Manjit, W., 2018, Quantitation of total phenolic antioxidant activity and development of skin care lotion, VRU Research and Development J. 13(2): 86-97. (in Thai)
Chatrthirananth, S., Sabayji, W. and Niyomthai, S., 2013, Phytochemical Screening and
Antioxidant Activity of Clerodendrum disparifolium Leaves, KKU Sci. J. 41(3): 723-730.
(in Thai)
Inthranuphakorn, R., 2004, Inspection and extraction of herbal essence, Chulalongkorn University, Bangkok, 215 p. (in Thai)
Maneechai, S. and Rinthong, P., 2016, Total phenolic and total flavonoid contents, free
radicalscavenging activity and tyrosinase inhibitory potential from the methanolic
extracts of Cajanus cajan (L.) Millsp. and Acacia concinna (Willd.) DC. Flowers.
KKU Sci. J. 44(1): 142-152. (in Thai)
Mojarrab, M., Nasseri, S., Hosseinzadeh, L. and Farahani, F., 2016, Evaluation of antioxidant
and cytoprotective activities of Artemisia ciniformis extracts on PC12 cell, Iran J. Basic
Med Sci. 19(4): 430-438.
Rattanamanee, K., 2014, Antiplatelet and antioxidative effects of Stephania venosa (Blume)
Spreng. Extract, Thai J. Pharmacol, 36(1): 36-34. (in Thai)
Semwal, D.K., Badoni, R., Semwal, R., Kothiyal, S. K., Singh, G. J. and Rawat U., 2010, The genus Stephania (Menispermaceae): Chemical and pharmacological perspectives, J. Ethnopharmacol. 132(2): 369-383.
Sharma, R., Chandan, G., Chahal, A. and Saini, R.V., 2017, Antioxidant and anticancer acitivity of methanolic extract from Stephania elegans, Int J. Pharm Pharm Sci. 9(2): 245-249.
Sutthisaksopon, P. and Rattamanee, C., 2019, Species diversity of undergrowth of deciduous
dipterocarp forest in Ban Phrao Community Forest Watthana Nakhon District, Sa Kaeo
Province, SWU. J. Sci. Technol. 11(22): 1-13. (in Thai)
Wacharakhupt, O., 2006, Radical Scavenging Agents, P.S. Print, Bangkok, 262 p. (in Thai)
Wuthi-udomlert, M. and Luanratana, O., 2003, Study of Thai medicinal herbs against dermatomycotic and opportunistic fungi, Department of Pharmacognosy, Bangkok, 196 p. (in Thai)