การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษาภายในสองปีและมากกว่าสองปีการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Main Article Content

นภาพร พรมนาง
สายชล สินสมบูรณ์ทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกกลุ่มในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาภายในสองปีและมากกว่าสองปีการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทุกสาขาวิชาและทุกหลักสูตร ที่จบในปีการศึกษา 2557-2561 วางแผนการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกทวิภาคและการวิเคราะห์จำแนกประเภท โดยพิจารณาจากร้อยละการจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่าวิธีการจำแนกประเภทมีร้อยละการจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องว่าอยู่ในกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาภายในสองปี (กลุ่มที่ 1) กลุ่มที่สำเร็จการศึกษามากกว่าสองปี (กลุ่มที่ 2) และร้อยละการจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องเฉลี่ย 94.74, 87.50 และ 89.55 ตามลำดับ สูงกว่าวิธีการถดถอยลอจิสติกทวิภาค ซึ่งจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 81.58, 82.29 และ 82.09 ตามลำดับ โดยมีตัวแปรอิสระจำนวน 5 ตัว ที่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ คือ คณะที่จบการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต ระยะเวลาการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต ลักษณะการมาศึกษาต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิต การรับรู้ความสามารถทางการวิจัยของนักศึกษา และสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์กับนักศึกษา โดยมีสมการจำแนกประเภทเป็น  

Article Details

How to Cite
พรมนาง น., & สินสมบูรณ์ทอง ส. (2020). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจำแนกกลุ่มการสำเร็จการศึกษาภายในสองปีและมากกว่าสองปีการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. Thai Journal of Science and Technology, 9(5), 560–574. https://doi.org/10.14456/tjst.2020.61
บท
วิทยาศาสตร์กายภาพ
Author Biographies

นภาพร พรมนาง

งานบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

สายชล สินสมบูรณ์ทอง

ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

References

กัลยา วานิชย์บัญชา, 2548, การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows, พิมพ์ครั้งที่ 4, บริษัท ธรรมสาร จำกัด, กรุงเทพฯ.

งานบัณฑิตศึกษา, 2560, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ, 130 น.

บุญชม ศรีสะอาด, 2538, วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 2, สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2539, เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้, ชมรมเด็ก, กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กาญจนวาสี, 2548, การวิเคราะห์พหุระดับ, พิมพ์ครั้งที่ 3, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, 2554, แนวทางการทำวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จ, ว.มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 28(3): 98-101.

สุวิมล ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย, 2556, แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์, ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อรสา สุทธิไสย, 2551, การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการจําแนกกลุ่มโดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิภาคและการวิเคราะห์จําแนกคาโนนิคอลในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสําเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อุไรวรรณ อมรนิมิตร, 2546, การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Logistic Regression : ทางเลือกของการวิเคราะห์ความเสี่ยง, ว.วิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 3(2): 21-34.

Cochran, W.G., 1977, Sampling Technique, John Wiley and Sons, Caliornia.

Johnson, R.A. and Wichern, D.W., 1992, Applied Multivariate Statistical Analysis, 3rd Ed., Prentice-Hall International, Inc., Englewood Cliffs.