ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อริสา ปัญญาชน
จิตรานุช ฟ้องเสียง
ธัญญรัตน์ ไชยคราม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาตำแหน่งและรูปแบบการกระจายตัวของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี การสำรวจภาคสนามพบแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 25 แห่ง สามารถวิเคราะห์รูปแบบการกระจายตัวของแหล่งท่องเที่ยวโดยการใช้หลักสถิติเชิงพื้นที่วิเคราะห์ดัชนีเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด nearest neighbor analysis พบว่าอัตราส่วนเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด 0.764704 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน -2.250690 และสัดส่วนความน่าจะเป็น 0.024405 และมีรูปแบบการกระจายตัวในรูปแบบเกาะกลุ่ม (clustered) ตามเส้นทางการคมนาคม และหนาแน่นมากในพื้นที่อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอบ้านผือ และอำเภอนายูง (2) วิเคราะห์ความหนาแน่นของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 400 คน ซึ่งคำนวณจากสูตรของคอแครน (Cochran) กรณีไม่ทราบสัดส่วนของประชากร พบว่าทั้งนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกระจุกตัวหนาแน่นมากที่สุดในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านดุง อำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอกุมภวาปี โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว คำชะโนด วังนาคินทร์ Central Plaza อุดรธานี ทะเลบัวแดง และวัดป่าภูก้อน และ (3) วิเคราะห์รูปแบบการเดินทางและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติ พบว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและอาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวต่างชาติส่วนใหญ่เดินทางมาจากนครหลวงเวียงจันทน์ แขวงเวียงจันทน์ และแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามลำดับ รูปแบบการเดินทางมาท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลกับครอบครัว ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1-2 วัน ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ใช้งบประมาณในการท่องเที่ยว 10,000 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และนักท่องเที่ยวชาวไทย 1,000-2,000 บาท โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน ศึกษาวัฒนธรรม การรักษาสุขภาพ และการเสี่ยงดวง

Article Details

How to Cite
ปัญญาชน อ., ฟ้องเสียง จ., & ไชยคราม ธ. (2020). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดอุดรธานี. Thai Journal of Science and Technology, 9(5), 603–616. https://doi.org/10.14456/tjst.2020.65
บท
วิทยาศาสตร์กายภาพ
Author Biographies

อริสา ปัญญาชน

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

จิตรานุช ฟ้องเสียง

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

ธัญญรัตน์ ไชยคราม

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

References

กาญจนา สุคัณธสิริกุล, 2556, รายงานการวิจัยการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, รายงานการวิจัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2560, ประเภทของการท่องเที่ยว, แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/archcommunitydevelopment/tourism, 20 ตุลาคม 2562.

จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย, 2557, ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุโอกาสใหม่ไทยเติบโตรับ AEC, สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD), พิมพ์ครั้งที่ 3, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ Section, กรุงเทพฯ.

พรรณี ชีวินศิริวัฒน์, 2561, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : หลักการและการประยุกต์, โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์, 2544,การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย, ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2561, รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561, เอกสารรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ, กรุงเทพฯ.

วรัญญา นันตาแก้ว, 2561, สังคมผู้สูงอายุเมืองอุดรธานี, แหล่งที่มา : http://thainews.prd.go.th, 25 กันยายน 2562.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 2563, อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, แหล่งที่มา : https://www.eeco.or.th/industry/อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, 25 กันยายน 2562.

สิริรัตน์ นาคแป้น, 2555, พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในการมาท่องเที่ยวเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

Maurizio, G., Paul, L. And Phil, A., 2007, Kernel density estimation and percent volume contours in generalpractice catchment area analysis in urban areas, Proceedings of 15th Geographical Information Science Research UK Conference, Maynooth.