การคัดเลือกสายต้นไผ่ซางหม่นที่มีศักยภาพในการก่อสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อคัดเลือกสายต้นไผ่ซางหม่นที่มีศักยภาพในการก่อสร้าง โดยคัดเลือกจากไผ่ซางหม่นที่เกิดจากเมล็ดจำนวน 243 สายต้น นำมาคัดเลือกลักษณะทางกายภาพ เช่น ลำต้น ทรงกอ การแตกกิ่งแขนงมากน้อยเพียงใด คัดเลือกคุณลักษณะที่ดีให้เหลือจำนวน 20 สายต้น ที่มีความหนาเนื้อไม้ ความยาวปล้อง ความสูงของลำต้น จากนั้นคัดเลือกให้เหลือจำนวน 10 สายต้น เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกล และนำไปวิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล (ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสิ่งทดลองโดยวิธีของ (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % พบว่า ไผ่ซางหม่นทุกสายต้น มีการหดตัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้สายต้นที่ 93 137 153 191 และ 242 มีค่าความถ่วงจำเพาะสูงสุด เมื่อทดสอบคุณสมบัติเชิงกลด้วยเครื่องวัดแรงอัดขนานเสี้ยน พบว่า สายต้น 93 98 137 138 153 และ 191 มีค่าแรงกระทำสูงสุด ดังนั้นสายต้นที่ 93 137 153 และ 191 มีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการก่อสร้างมากที่สุด เนื่องจากมีคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลดีที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อความที่ปรากฏในแต่ละเรื่องของวารสารเล่มนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือคณาจารย์ท่านอื่นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนต้องยืนยันว่าความรับผิดชอบต่อทุกข้อความที่นำเสนอไว้ในบทความของตน หากมีข้อผิดพลาดหรือความไม่ถูกต้องใด ๆ
References
Banjongrat, S. (2015). Mechanical properties of Thai structural bamboo for simple structures. (Master's Degree). Thammasat University.
Dechvisit, S. (2001). Bamboo Planting. Kasetsart Publishing, Bangkok.
Royal Forest Department. (1998). Basic Wood Utilization. Bangkok.
Forest Research and Development Office. (2005). Properties of Some Bamboo Varieties for Construction. Department of Forestry. Bangkok.
Phuangchik, T. (2013). Bamboo Magic Plant: It Time to Take a Seriously planted?. Journal of Forest Management, 2(4), 58-61.
Protected Area Regional Office 16. (2007). Bamboo. Chiang Mai Forest Office, Chiang Mai.
Saengnin, S. (1993). Application of remote sensing data for estimating bamboo forest production in Northern and Western part of Thailand. (Master's Degree). Kasetsart University, Bangkok.
Smart SME. (2015). Bamboo Alternative Materials Trend of Construction Material in the Future. Retrieved from http://www.smartsme.co.th/content/12601/
Thai Agriculture. (2012). The Life Cycle of Bamboo. Retrieved from http://www.thaikasetsart.com/, December 1, 2018.