การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์การกระจายตัวของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณรงค์ พลีรักษ์
กฤษณะ อิ่มสวาสดิ์
ภาสิรี ยงศิริ
พิชิตพร ผลเกิดดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและคำนวณความหนาแน่นและการกระจายตัวของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะทาง 300 และ 500 เมตร จากขอบเขตมหาวิทยาลัยบูรพา การเก็บข้อมูลและการทำแผนที่ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้เครื่อง GPS และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system, GIS) ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ตั้งอยู่รอบมหาวิทยาลัยบูรพาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และผับ บาร์ และอื่น ๆ โดยในระยะทาง 300 และ 500 เมตร มีจำนวน 95 และ 166 ร้าน ตามลำดับ โดยประเภทที่พบมากที่สุด คือ ร้านขายของชำ ซึ่งมีจำนวน 47 และ 79 ร้าน ในระยะทาง 300 และ 500 เมตร ตามลำดับ และแต่ละระยะทางมีความหนาแน่นของร้านจำหน่ายแอลกอฮอล์เท่ากับ 48.22 และ 65.61 ร้าน ต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่รูปแบบการกระจายตัวของร้านเป็นแบบกลุ่ม (clustered) ทั้งในระยะทาง 300 และ 500 เมตร จากขอบเขตมหาวิทยาลัย ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดการตั้งร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ตัวอย่าง เช่น การออกใบอนุญาตจำหน่ายสุรา โดยจะไม่อนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะทาง 300 เมตร จากสถานศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและกำหนดโซนนิ่งร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ได้ 


คำสำคัญ : ร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์; การกระจายตัว; เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

Article Details

บท
Physical Sciences
Author Biographies

ณรงค์ พลีรักษ์

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

กฤษณะ อิ่มสวาสดิ์

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

ภาสิรี ยงศิริ

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

พิชิตพร ผลเกิดดี

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20131

References

[1] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2557, ลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มวัยรุ่น, แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/, 22 ธันวาคม 2559.
[2] มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย, 2558, โรคตับและการดื่มสุรา, แหล่งที่มา : https://www.thailiverfoundation.org/th/cms/detail.php?id=31, 22 ธันวาคม 2559.
[3] สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, 2557, อุบัติเหตุกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, แหล่งที่มา : https://www.thaianti alcohol.com/newsletters/view/1481, 21 ธันวาคม 2559.
[4] Pacific Institute, 2009, Liquor Stores and Community Health, Available source: https://pacinst.org/app/uploads/2013/02/liquor_store3.pdf, June 23, 2017.
[5] ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา, 2556, สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556, แหล่งที่มา : https://www.thaiantialcohol.com/uploads/files/content/download/51b56305406bf.pdf, 21 ธันวาคม 2559.
[6] มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560, จำนวนนักศึกษาประจำปี พ.ศ. 2559, แหล่งที่มา : https://reg.buu.ac.th/registrar/stat.asp?avs298982332=1, 23 มิถุนายน 2560.
[7] Crandall, M., Kuchbala, K., Behrens, J., Schwulst, S. and Esposito, T., 2015, Geographic association of liquor licenses and gunshot wounds in Chicago, Amer. J. Surg. 210(10): 99-105.
[8] DiMaggio, C., Mooney, S., Frangos, S. and Wall, S., 2016, Spatial analysis of the association of alcohol outlets and alcohol-related pedestrian/bicyclist injuries in New York City, Inj. Epidemiol. 3(1): 1-10.
[9] ภัทรภร พลพนาธรรม, 2558, การศึกษาการกระจายตัวของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, รายงานวิจัย, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ, 190 น.
[10] กนิษฐา ไทยกล้า, 2550, การศึกษาเปรียบเทียบความชุกและพฤติกรรมการดื่มของนักเรียนนักศึกษากับความหนาแน่นของสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัศมี 500 เมตร รอบสถานศึกษา, รายงานวิจัย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่, 77 น.