การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าโดยการปรับปรุงชุดกรองอากาศขาเข้า

Main Article Content

วรณี มังคละศิริ
อำนวย มณีทะ
จิตติ มังคละศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นที่ชุดอัดอากาศเครื่องกังหันก๊าซ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ประสิทธิภาพเครื่องกังหันก๊าซลดลง และเกิดต้นทุนการสูญเสียประสิทธิภาพทางความร้อนในการผลิตไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาฟื้นฟูประสิทธิภาพด้วยวิธีการทำความสะอาดชุดอัดอากาศแบบออฟไลน์ รวมทั้งวิเคราะห์ความถี่ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดเพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยผลกระทบของสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นนี้ได้นำมาพิจารณาปรับปรุงชุดกรองอากาศขาเข้าเพื่อลดอัตราการเสื่อมสภาพและยืดระยะเวลาทำความสะอาดชุดอัดอากาศ งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้เครื่องกังหันก๊าซในกระบวนการผลิต เพื่อวิเคราะห์หาประสิทธิภาพชุดอัดอากาศและประสิทธิภาพความร้อนทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงเป็นเวลา 1 ปี ผลการวิจัยก่อนการปรับปรุงชุดกรองอากาศขาเข้าพบว่าประสิทธิภาพชุดอัดอากาศมีอัตราลดลงที่ 0.757 % ต่อ 1,000 ชั่วโมงภายหลังทำความสะอาด ความถี่ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดอยู่ที่ 6 ครั้งต่อปี โดยหลังการปรับปรุงชุดกรองอากาศขาเข้า ประสิทธิภาพชุดอัดอากาศจะมีอัตราลดลงเพียง 0.229 % ต่อ 1,000 ชั่วโมง ความถี่ที่เหมาะสมในการทำความสะอาดอยู่ที่ 3 ครั้งต่อปี นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ในการปรับปรุงชุดกรองอากาศขาเข้าพบว่าสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 12 ล้านบาทต่อปี และมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 11 เดือน 


คำสำคัญ : การทำความสะอาดชุดอัดอากาศแบบออฟไลน์; การเสื่อมสภาพชุดอัดอากาศ; ชุดกรองอากาศขาเข้า; ชุดอัดอากาศเครื่องกังหันก๊าซ; สิ่งสกปรก

Article Details

บท
Engineering and Architecture
Author Biographies

วรณี มังคละศิริ

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

อำนวย มณีทะ

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

จิตติ มังคละศิริ

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

[1] สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2558, แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579, กรุงเทพฯ.
[2] Cyrus, B. and Bromley, A., 2004, Gas turbine axial compressor fouling and washing, pp. 163-192, Proceedings of The 33th Turbomachinery Symposiumม USA.
[3] Wilcox, M., Kurz, R. and Brun, K., 2012, Technology review of modern gas turbine inlet filtration systems, Int. J. Rotat. Machin. 2012: Article ID 128134, 15 p.
[4] Cengel, Y.A. and Boles, M.A., 2005, Ther-modynamics: An Engineering Approach, 5th Ed., McGraw-Hill Education, New York.
[5] Oyedepo, S.O. and Kilanko, O., 2014, Thermodynamic analysis of a gas turbine power plant modeled with an evaporative cooler, Int. J. Thermodyn. 17: 14-20.
[6] Aretakis, N., Roumeliotis, I., Doumouras, G. and Mathioudakis, K., 2012, Compressor washing economic analysis and optimization for power generation, Appl. Energ. 95: 77-86.
[7] Koch, J., DeGeeter, S. and Haynes, C.J., 1996, Condenser compressor and HRSG cleaning in combined cycle: How often is too often?, Available Source: http://www. heatrate.com/docs/Maintenance-cheduli ng-1996.pdf, September 14, 2016.