การตรวจคัดกรองการติดเชื้อ Mycobacterium leprae ในผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อยโดยชุดทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาชนิดรวดเร็ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย (paucibacillary, PB) เป็นผู้ติดเชื้อจากแบคทีเรีย Mycobacterium leprae ที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ (cell mediated immune response, CMI) ระดับปานกลางหรือมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่แสดงอาการ แต่จากรายงานอุบัติการณ์งานรักษาและป้องกันควบคุมโรคเรื้อนปี พ.ศ. 2557 พบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ประเภทเชื้อน้อย จำนวนร้อยละ 27.32 ซึ่งหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจทำให้พัฒนาเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ประเภทเชื้อมาก (multibacillary, MB) ซึ่งแพร่เชื้อให้กับชุมชนและเกิดความพิการถาวร นำมาซึ่งปัญหาทางจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ อาการแสดงสำคัญที่ใช้วินิจฉัยโรคเรื้อนในปัจจุบัน คือ (1) ตรวจพบรอยโรคผิวหนังที่มีลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อน (2) ตรวจพบอาการชาข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้ คือ ชาที่รอยโรคผิวหนัง หรือชาที่ผิวหนังบริเวณที่รับความรู้สึกจากเส้นประสาทส่วนปลายที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคเรื้อน (3) ตรวจพบเส้นประสาทโต และ (4) ตรวจพบเชื้อรูปแท่งติดสีทนกรด (acid fast bacilli, AFB) จากการกรีดผิวหนัง (slit skin smear, SSS) หากพบอาการแสดงอย่างน้อย 2 ข้อ จาก 3 ข้อแรก หรือพบข้อ 4 เพียงข้อเดียว ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีผื่นที่เข้าได้กับโรคเรื้อนและมีอาการชาที่รอยโรค จึงสามารถวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อยได้เลย โดยไม่ต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยเป็นโรคเรื้อน แต่มีผื่นและหรืออาการชาที่รอยโรคไม่ชัดเจน จึงต้องอาศัยวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยยืนยัน ซึ่งในปัจจุบันวิธีการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยามีความไวต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาที่มีความไวต่อเชื้อมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาประสิทธิภาพของชุดทดสอบภูมิคุ้มกันต่อ M. leprae ชนิด Leprosy IDRI Diagnostic 1 (LID-1) โดยเก็บตัวอย่างเลือดคนปกติ จำนวน 10 ราย และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ประเภทเชื้อน้อย จำนวน 10 ราย มาทดสอบด้วยชุดตรวจ LID-1 rapid serological test และยืนยันการพบ M. leprae ด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR) ผลการศึกษาพบว่าชุดตรวจ LID-1 rapid serological test ให้ผลบวกกับตัวอย่างเลือดผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย จำนวน 9 ราย และพบ M. leprae จำนวน 6 ตัวอย่าง เมื่อตรวจด้วยวิธี PCR เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจด้วยชุดตรวจ LID-1 rapid serological test และผลการวินิจฉัยจากอาการแสดงพบว่าชุดตรวจนี้ให้ผลบวกจริง (true positive) ร้อยละ 45 ผลลบจริง (true negative ) ร้อยละ 50 ผลลบปลอม (false negative) ร้อยละ 5 โดยไม่มีตัวอย่างใดผลบวกปลอม (false positive) ผลดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าชุดตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาชนิดรวดเร็ว เพื่อหา Anti LID-1 (LID-1 rapid serological test) มีความไว (sensitivity) ร้อยละ 90 ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์ผลบวก (positive predictive value) ร้อยละ 100 และค่าพยากรณ์ผลลบ (negative predictive value) ร้อยละ 91 โดยอัตราที่ผลการทดสอบให้ผลลบในผู้ที่ป่วยเป็นโรคเปรียบเทียบกับผลการทดสอบให้ผลลบในผู้ที่ไม่ป่วยเป็นโรค (negative likelihood ratio) เท่ากับร้อยละ 0.1 ดังนั้นการทดสอบด้วยชุดตรวจ LID-1 rapid serological test นี้จึงน่าจะมีประโยชน์ในการตรวจคัดกรองโรคเรื้อนเบื้องต้น (screening test) ในกลุ่มประชากรบางกลุ่ม เช่น แรงงานต่างด้าว ผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยโรคเรื้อน และผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการ
คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย; การทดสอบภูมิคุ้มกันวิทยาชนิดรวดเร็ว; การตรวจคัดกรอง
Article Details
References
[2] สถาบันราชประชาสมาสัย, 2557, รายงานอุบัติการณ์จากงานรักษาและป้องกันควบคุมโรคเรื้อน, น. 24-27, กรมควบคุมโรค, สมุทรปราการ.
[3] สำนักงานบริหารคนงานต่างด้าว, 2557, สถิติรายปีคนงานต่างด้าวประจำปี 2557, เอกสารเผยแผ่, กรมการจัดหางาน, กรุงเทพฯ.
[4] Duthie, M.S., Goto, W., Ireton, G.C., Reece, S.T., Cardoso, L.P.V., Martelli, C.M.T., Stefani, M.M.A., Nakatani, M., de Jesus, R.C., Netto, E.M., Balagon, M.V.F., Tan, E., Gelber, R.H., Maeda, Y., Makino, M., Hoft, D. and Reed, S.G., 2007, Use of protein antigens for early serological diagnosis of leprosy, Clin. Vaccine Immunol. 14: 1400-1408.
[5] Meeker, H.C., Schuller-Levis, G., Fusco, F., Giardina-Becket, M.A., Sersen, E. and Levis, W.R., 1990, Sequential monitoring of leprosy patients with serum antibody levels to phenolic glycolipid-I, a synthetic analog of phenolic glycolipid-I, and mycobacterial lipoarabinomannan, Int. J. Lepr. Other Mycobact. Dis. 58: 503-511.
[6] Brennan, P.J. and Barrow, W.W., 1980, Evidence for species-specific lipid antigens in Mycobacterium leprae, Int. J. Lepr. Other Mycobact. Dis. 48: 382-387.
[7] Shepard, C.C. and McRae, D.H., 1968, A method for counting acid-fast bacteria, Int. J. Lepr. Other Mycobact. Dis. 36: 78-82.
[8] Paula Vaz Cardoso, L., Dias, R.F., Freitas, A.A., Hungria, E.M., Oliveira, R.M., Collovati, M., Reed, S.G., Duthie, M.S. and Martins Araújo Stefani, M., 2013, Development of a quantitative rapid diagnostic test for multibacillary leprosy using smart phone technology, BMC Infect. Dis. 13: 497.
[9] Turankar, R.P., Pandey, S., Lavania, M., Singh, I., Nigam, A., Darlong, J., Darlong, F. and Sengupta, U., 2015, Comparative evaluation of PCR amplification of RLEP, 16S rRNA, rpoT and Sod A gene targets for detection of M. leprae DNA from clinical and environmental samples, Int. J. Mycobacteriol. 4: 54-59.
[10] Martinez, A.N., Talhari, C., Moraes, M.O. and Talhari, S., 2014, PCR-based techniques for leprosy diagnosis: From the laboratory to the clinic, PLoS Negl. Trop. Dis. 8(4): e2655.
[11] de Wit, M.Y., Faber, W.R., Krieg, S.R., Douglas, J.T., Lucas, S.B., Montreewasuwat, N., Pattyn, S.R., Hussain, R., Ponnighaus, J.M. and Hartskeerl, R.A., 1991, Application of a polymerase chain reaction for the detection of Mycobacterium leprae in skin tissues, J. Clin. Microbiol. 29: 906-910.
[12] Duthie, M.S., Balagon, M.F., Maghanoy, A., Orcullo, F.M., Cang, M., Dias, R.F., Collovati, M. and Reed, S.G., 2014, Rapid quantitative serological test for detection of infection with Mycobacterium leprae, the causative agent of leprosy, J. Clin. Microbiol. 52: 613-619.