ความชุกของโรคเหาในเด็กหญิงพิการที่โรงเรียนสำหรับเด็กพิการในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

โพชฌงค์ หร่องบุตรศรี
ประเสริฐ สายเชื้อ
กฤษณ์ตินันท์ นวพงษ์ปวีณ
อารี เทเลอร์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการสำรวจความชุกของโรคเหาและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหาในเด็กนักเรียนหญิงที่โรงเรียนเด็กพิการในจังหวัดขอนแก่น โดยมีนักเรียนหญิงยินยอมเข้าร่วมในการศึกษา 38 คน จากทั้งหมด 58 คน (ร้อยละ 66) ตรวจโดยใช้มือแหวกเส้นผมทุก ๆ 2-3 ซม.ทั่วทั้งศีรษะ ใช้เวลาตรวจดูด้วยตาเปล่าประมาณ 4-5 นาที ต่อการตรวจหนึ่งคน ผลการศึกษาพบเป็นโรคเหา 20 คน (ร้อยละ 52.6) จากผู้ได้รับการตรวจเหา 38 คน ปัจจัยด้านระดับการศึกษา ระดับความพิการ ความถี่ของการสระผม และความถี่ของการนำหมอนและผ้าห่มผึ่งแดด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคเหา นอกจากนี้พบว่านักเรียนหญิงส่วนใหญ่ร้อยละ 76.3 เคยมีอาการคันหนังศีรษะในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ด้านความรู้สึกต่อเพื่อนที่เป็นโรคเหาพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 79.22 ไม่รังเกียจเพื่อนที่เป็นโรคเหา ผลจากการศึกษาความชุกของโรคเหายังคงสูงอยู่ จึงจำเป็นที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องเช่นครู ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจะหาแนวทางหรือกลยุทธ์ในการควบคุมและป้องกันโรคเหาในโรงเรียนต่อไป

คำสำคัญ : ความชุก; โรคเหา; เด็กหญิงพิการ

 

Abstract

The present study aimed to determine the prevalence and factors associated with head lice infestation among handicapped school girls in the school for handicapped children in Khon Kaen province. 38 out of 58  (66 %) handicapped school girls participated in this study. Each participant was examined for head lice, as well as for eggs/nits, by parting the hair every 2-3 cm. throughout the head for 4-5 minutes with the naked eye. The result found that 20 out of 38 (52.6 %) handicapped school girls had evidence of infestation with head lice. Individual factors and hygienic practices including school grade level, handicap level, frequency of shampooing and frequency of exposing pillows and blankets to sunlight were not associated with head lice infestation. The majority of handicapped school girls (76.3 %) had an experience of scalp itching during the previous month period. And about 79.22 % of all children did not hate their friends who had head lice infestation. As head lice infestation is common in school children, control strategies to solve this health problem in school need to be implemented by teachers, parents and medical staff.

Keywords: prevalence; pediculosis; handicapped school girls

Article Details

Section
บทความวิจัย