การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่จากวัตถุดิบเนื้อสัตว์

Main Article Content

โสรยา เกิดพิบูลย์
ณัฐพร โชติกาวินทร์
วรพจน์ ภมร
ศุภกรณ์ วัฒนศรี
พสธร ผ่องแผ้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตผลิตภัณฑ์เส้นอิมัลชันจากเนื้อสัตว์ โดยศึกษาผลของเนื้อสัตว์ 2 ชนิด ได้แก่ เนื้อหมู และเนื้อไก่ หารูปแบบเส้นที่เหมาะสม วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและองค์ประกอบทางเคมี ผลการทดลองพบว่าผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบในด้านลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์เส้นที่เตรียมจากเนื้อหมูและเนื้อไก่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) แต่ให้คะแนนความชอบในด้านสีของเส้นที่เตรียมจากเนื้อหมู และกลิ่นรสของเส้นที่เตรียมจากเนื้อไก่อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) เส้นที่เตรียมจากเนื้อไก่สามารถขั้นรูปได้ง่ายและมีความเนียนกว่าเนื้อหมู ดังนั้นจึงเลือกเนื้อไก่ไปใช้ในการศึกษาผลของรูปร่างของเส้นสด (เส้นกลม เส้นแบน เส้นแบนกว้าง และเส้นห้าแฉก) ที่มีต่อลักษณะทางกายภาพบางประการและการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ โดยผลการทดลองพบว่ารูปร่างของเส้นสดไม่มีผลต่อความชอบในด้านสี (p > 0.05) การขึ้นรูปเส้นสดแบบเส้นแบนมีคะแนนความชอบในด้านลักษณะปรากฏ และความชอบโดยรวมที่สูงกว่ารูปแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยผลิตภัณฑ์นี้มีค่าความสว่าง ความเป็นสีเขียว และความเป็นสีเหลือง เท่ากับ 84.4, 4.6 และ 19.6 ตามลำดับ มีค่าแรงดึง 22.04 กรัม และการสูญเสียน้ำหนักร้อยละ 6.5 เส้นสดจากเนื้อไก่มีปริมาณความชื้น โปรตีน ไขมัน และเถ้า ร้อยละ 74.5, 14.4, 8.8 และ 0.14 ตามลำดับ 


คำสำคัญ : เนื้อไก่; เนื้อสัตว์; เนื้อหมู; เส้น; อิมัลชัน

Article Details

บท
Biological Sciences
Author Biographies

โสรยา เกิดพิบูลย์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

ณัฐพร โชติกาวินทร์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

วรพจน์ ภมร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

ศุภกรณ์ วัฒนศรี

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

พสธร ผ่องแผ้ว

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

References

[1] จันทรา โภคาสุวิบูลย์, 2551, ก๋วยเตี๋ยวและอาหารเส้นนานาชาติ, ไทยควอลิตี้บุ๊ค, กรุงเทพฯ, 112 น.
[2] Brown, A.C., 2011, Understanding Food Principles and Preparation, 4th Ed, Wadsworth Cengage Learning Publisher, Boston, 625 p.
[3] Aberle, E.D., Forrest, J.C., Gerrard, D.E. and Mills, E.W., 2001, Principles of Meat Science, 4th Ed, Kendall/Hunt Publishing Company, Iowa. 354 p.
[4] Paglarini, C.S., Furtado, G.F., Biachi, J.P., Vidal, V.A.S., Martini, S., Forte, M.B.S., Cunha, R.L. and Pollonio, M.A.R., 2018, Functional emulsion gels with potential application in meat products, J. Food Eng. 222: 29-37.
[5] Pretorius, B. and Schonfeldt, H.C., 2018, The contribution of processed pork meat products to total salt intake in the diet, Food Chem. 238: 139-145.
[6] Elsinaite, V., Juraite, D., Schroen, K. and Leskauskaite, D., 2017, Food-grade double emulsions as effective fat replacers in meat systems, J. Food Eng. 213: 54-59.
[7] Choi, Y.S., Sung, J.M., Jeong, T.J., Hwang, K.E., Song, D.H., Ham, Y.K., Kim, H.W., Kim, Y.B. and Kim, C.J., 2016, Effect of irradiated pork on physicochemical properties of meat emulsions, Rad. Phys. Chem. 119: 279-281.
[8] Barros, J.C., Munekata, P.E.S., Pires, M.A., Rodrigues, I., Andaloussi, O.S., Rodrigues, C.E.C. and Trindade, M.A., 2018, Omega-3- and fibre-enriched chicken nuggests by replacement of chicken skin with chia (Salvia hispanica L.) flour., LWT. Food Sci. Technol. 2018: 283-289.
[9] Yasin, H., Babji, A.S. and Ismall, H., 2016, Optimization and rheological properties of chicken ball as affected by K-carrageenan, fish gelatin and chicken meat, LWT. Food Sci. Technol. 66: 79-85.
[10] Ritthiruangdej, P., Parnbankled, S., Donchedee, S., Wongsagonsup, R., 2011, Physical, chemical, textural and sensory properties of dried wheat noodles supplemented with unripe banana flour, Kasetsart J. (Nat. Sci.) 45: 500-509.
[11] Lu, Q., Guo, S. and Zhang, S., 2009, Effects of flour free lipids on textural and cooking qualities of Chinese noodles, Food Res. Int. 42: 226-230.
[12] Kim, C.J. and Lee, E.S., 2003, Effects of quality grade on the chemical, physical and sensory characteristics of Hanwoo (Korean native cattle) beef, Meat Sci. 63: 397-405.
[13] AOAC, 2000, Official Methods of Analysis of AOAC International, 17th Ed., Maryland.
[14] Suman, S.P., Nair, M.N., Joseph, P. and Hunt, M.C., 2016, Factors influencing internal color of cooked meats, Meat Sci. 120: 133-144.
[15] Aaslyng, M.D. and Meinert, L., 2017, Meat flavor in pork and beef- From animal to meal, Meat Sci. 132: 112-117.
[16] Melton, S., 1999, Current Status of Meat Flavor, pp. 115-133, In Xiong, Y.L., Ho, C.T. and Shahidi, F. (Eds.), Quality Attributes of Muscle Foods, Kluwer Academic/Plenum Publishers, New York.
[17] Aaslying, M.D. and Meinert, L., 2017, Meat flavor in pork and beef - From animal to meal, Meat Sci. 132: 112-117.
[18] Ross, A.S., 2006, Instrumental measure ment of physical properties of cooked Asian wheat flour noodles, Cereal Chem. 83: 42-51.
[19] Mudgil, D., Barak, S. and Khatkar, B.S., 2016, Optimization of textural properties of noodles with soluble fiber, dough mixing time and different water levels, J. Cereal Sci. 69: 104-110.