การเปรียบเทียบความแกร่งของแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังประเภทต่าง ๆ สำหรับการแจกแจงแกมมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแกร่งในการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของกระบวนการของแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลัง 3 ชนิด ได้แก่ แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลัง (EWMA) แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังที่ใช้เครื่องหมาย (EWMA Sign) และแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังสองชั้น (DEWMA( เมื่อข้อมูลมีการแจกแจงแกมมา มีพารามิเตอร์รูปร่าง เท่ากับ 10.2, 10.6, 11, 11.4, 11.8, 13, 16, 20 และพารามิเตอร์สเกล เท่ากับ 1 ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ขนาดตัวอย่าง ในแต่ละกลุ่มย่อย เท่ากับ 3, 5, 7, 10 และ 20 กำหนดขนาดการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยที่เปลี่ยนไปจากค่าเฉลี่ยของกระบวนการ เท่ากับ 0.1s, 0.3s, 0.5s, 0.7s, 0.9s, 1.5s, 3s, 5s โดยมีการจำลองข้อมูลซ้ำในแต่ละสถานการณ์ 10,000 ครั้ง ด้วยโปรแกรม SAS 9.4 เพื่อเปรียบเทียบความแกร่งในด้านความยาววิ่งเฉลี่ยเมื่อกระบวนการออกนอกการควบคุมของแต่ละแผนภูมิควบคุมซึ่งผลจากการวิจัย พบว่าแผนภูมิควบคุม DEWMA มีแนวโน้มให้ประสิทธิภาพในการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของกระบวนการได้ดีกว่าแผนภูมิควบคุม EWMA และแผนภูมิควบคุม EWMA Sign ในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้เมื่อ ในทุกขนาดตัวอย่าง จะพบว่าทั้ง 3 แผนภูมิมีแนวโน้มให้ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อค่าเฉลี่ยของกระบวนการมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น พบว่าแผนภูมิควบคุมทั้ง 3 แผนภูมิ มีแนวโน้มในการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของกระบวนการใกล้เคียงกัน จึงสามารถเลือกใช้แผนภูมิใดก็ได้
คำสำคัญ : แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลัง; แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังที่ใช้เครื่องหมาย; แผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเลขชี้กำลังสองชั้น; การแจกแจงแกมมา
Article Details
References
[2] Champ, C.W. and Rigdon, S.E., 1997, An analysis of the RUNSUM control chart, J. Qual. Technol. 29: 407-417.
[3] กิตยาการ อิศรางกูร ณ อยุธยา, 2544, การเปรียบเทียบความแกร่งระหว่างแผนภูมิควบคุมค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแบบเอกซ์โพเนนเชียลชิวฮาร์ทและซินเทติกในกรณีข้อมูลไม่มีการแจกแจงปกติ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[4] พนิดา เกตุชาติ, 2554, การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างแผนภูมิควบคุมชิวฮาร์ทและแผนภูมิควบคุมไม่อิงพารามิเตอร์ EWMA ที่ใช้เครื่องหมาย, ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
[5] Khoo, M.B.C. and Sim, S.Y., 2006, A robust exponentially weight moving average control chart for process mean, J. Mod. Appl. Stat. Methods 5: 464-474.
[6] Alkahtani, S.S., 2013, Robustness of DEWMA versus EWMA control to non-normal processes, J. Mod. Appl. Stat. Methods 12: 148-163.
[7] พิริยะ ไหมสมบุญ, จณิสตา หงส์คำเมือง และจุฑาภรณ์ สินสมบูรณ์ทอง, 2560, การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมในการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของกระบวนการสำหรับการแจกแจงปรกติ, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 25(6): 907-917.
[8] Roberts, S.W., 1959, Control chart tests based on geometric moving averages, Technometrics 42: 97-102.
[9] Yang, S.F., Lin, J.S. and Cheng, S.W., 2011, A new nonparametric EWMA Sign control chart, Expert Syst. Appl. 38: 6239-6243.
[10] Shamma, S.E. and Shamma, A.K., 1992, Development and evaluation of control charts using double exponentially weighted moving averages, Int. J. Qual. Reliab. Manage. 9(6): 18-25.
[11] ปาณิศา สอนสุภาพ, อาภาพร รุ่งเรืองชัยบาดาล, ศรัณย์ ปัทมะสังข์ และจุฑาภรณ์ สินสมบูรณ์ทอง, 2558, ความแกร่งของแผนภูมิควบคุมในการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของกระบวนการสาหรับการแจกแจงแบบแกมมา, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23(5): 743-753.
[12] Graham, M.A., Chakraborti, S. and Human, S.W., 2011, A nonparametric exponentially weighted moving average sign-rank chart for monitoring location, Comp. Stat. Data Anal. 55: 2490-2503.