การวิเคราะห์ดีบุกปริมาณน้อยด้วยเทคนิคเฟลมอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตเมทรีหลังจากการตกตะกอนร่วมกับอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์

Main Article Content

รัชนีกร วงศา
นภา ตั้งเตรียมจิตมั่น

Abstract

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ดีบุก (Sn) โดยอาศัยการตกตะกอนร่วมกับอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ได้ถูกพัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ โดยใช้อลูมิเนียมไนเตรต 9 มิลลิโมลาร์ ในการตกตะกอนร่วมกับดีบุก 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ปรับพีเอชให้เป็น 6 ด้วยฟอสเฟตบัฟเฟอร์ ตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปหมุนเหวี่ยงแยกตะกอนที่ความเร็ว 3,500 รอบต่อนาที เป็นเวลา 20 นาที ละลายตะกอนที่ได้ด้วยกรดไฮโดรคลอริก ปรับปริมาตรสุดท้ายเป็น 5 มิลลิลิตร ได้แฟคเตอร์เพิ่มความเข้มข้น 20 เท่า นำไปตรวจวัดด้วยเครื่องเฟลมอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ จากนั้นได้นำสภาวะเดียวกันนี้มาตกตะกอนร่วมดีบุก 0.1 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อน 6 และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ได้แฟคเตอร์เพิ่มความเข้มข้นเป็น 60 เท่า และได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำเชื่อมจากผลไม้กระป๋อง 4 ชนิด พบปริมาณดีบุกในตัวอย่างน้ำเชื่อมเท่ากับ 42.4±3.33, 49.5±5.29, 52.3±6.53, 44.6 ±2.32  มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และได้ค่าร้อยละการได้กลับคืนของตัวอย่างน้ำเชื่อมอยู่ระหว่าง 85.2-97.8

คำสำคัญ : การตกตะกอนร่วม; ดีบุก; อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์; น้ำเชื่อมในผลไม้กระป๋อง; FAAS

 

Abstract

An aluminum hydroxide coprecipitation method for determination of tin was developed in this work. Aluminum nitrate 9 mM was used to coprecipitate 100 mL of 1 mg L-1 tin in phosphate buffer solution pH 6. The precipitated solution was then leaved for 1 hour before centrifuge at 3500 rpm for 20 minutes. Precipitate was dissolved with hydrochloric acid into a final volume of 5 mL. The tin solution was determined by flame atomic absorption spectrophotometer (FAAS). The pre-concentration factor of 20 was obtained.  The same coprecipitation conditions were used to determine 0.1 and 0.5 mg L-1 tin solution with the relative error of 6 and 7%, respectively. But the pre-concentration factor was increased to 60. This condition was then used to determine tin in syrup samples from four different types of canned fruits.  The determined amount of tin in the four syrup samples were 42.4±3.33, 49.5±5.29, 52.3±6.53, 44.6±2.32 mg L-1, respectively. The recoveries of tin from syrup samples were found in a range of 85.2-97.8 %.

Keywords: coprecipitation; tin; aluminum hydroxide; canned fruit syrup samples; FAAS

Article Details

Section
Physical Sciences