การฟอกสีน้ำเสียจากโรงงานย้อมผ้าในจังหวัดลำพูนโดยกระบวนการโฟโตเฟนตันด้วยแสงอาทิตย์

Main Article Content

สายฝน มะโนคำ
มิกิ กัณณะ
นีรนุช ไชยรังษี
สัมพันธ์ วงศ์นาวา

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการฟอกสีย้อมสังเคราะห์ด้วยกระบวนการเฟนตันและโฟโตเฟนตัน (UV และแสงอาทิตย์) โดยมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟอกสี ได้แก่ ความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อมสังเคราะห์ อัตราส่วนร่วมต้นของ Fe2+ : H2O2 เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการฟอกสีย้อมสังเคราะห์ จากผลการทดลองพบว่าการใช้โฟโตเฟนตันโดยใช้แสงอาทิตย์ให้ผลดีที่สุด และเมื่อใช้อัตราส่วนของ Fe2+ : H2O2 เท่ากับ 4:80 mM ค่าพีเอชเริ่มต้นเท่ากับ 3 เป็นเวลา 360 นาที มีประสิทธิภาพในการฟอกสีย้อมสังเคราะห์ทั้ง 3 สี (แดง เหลือง และน้ำเงิน) มากกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้เมื่อศึกษาประสิทธิภาพการฟอกสีของน้ำเสียจากโรงงานสิ่งทอในจังหวัดลำพูนด้วยสภาวะที่เหมาะสม    ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการฟอกสีเท่ากับ 76.62 % ค่าซีโอดีลดลง 37 % และค่าความขุ่นลดลง 46 %

คำสำคัญ : การฟอกสี; น้ำเสียจากโรงงานย้อมผ้า; โฟโตเฟนตันแสงอาทิตย์

 

Abstract

The decolorization of synthetic dyes under Fenton and photo-Fenton (UV and solar light) processes were studied. Some influential parameters such as initial concentrations of synthetic dye, initial concentrations of Fe2+ : H2O2 ratio were evaluated to find the optimal conditions for the decolorization of synthetic dyes. The optimum result was obtained from the solar photo-Fenton.  The decolorization efficiencies of greater than 80 % were achieved from three synthetic dyes (red, yellow and blue) with Fe2+ : H2O2 concentration ratio 4:80 mM at pH 3 for 360 minutes. The same process under the same conditions was used to study the efficiency of decolorization of textile wastewater in Lumphun province. The result showed that the decolorization efficiency was 76.62 %, the COD and the turbidity decreased by 37 and 46 %, respectively.

Keywords: decolorization; textile wastewater; solar photo-Fenton

Article Details

Section
Physical Sciences