การปรับสภาพวัตถุดิบพวกลิกโนเซลลูโลสสำหรับการผลิตเอทานอล

Main Article Content

สุภาวดี ผลประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ

การนำพืชอาหารมาใช้ผลิตเอทานอลอาจส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารปรับสูงขึ้น ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจึงมุ่งเน้นไปใช้วัตถุดิบประเภทอื่นมาทดแทน การนำเอาของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่อยู่ในรูปลิกโนเซลลูโลสมาผลิตเอทานอลเริ่มได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่เป็นจำนวนมากและมีราคาถูก แต่วัตถุดิบพวกลิกโนเซลลูโลสประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน มีองค์ประกอบที่ย่อยสลายได้ยากทางชีวภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาพวัตถุดิบเหล่านี้ก่อนนำไปผลิตเอทานอล กระบวนการปรับสภาพวัตถุดิบสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การปรับสภาพทางกายภาพ การปรับสภาพทางกายภาพร่วมกับเคมี การปรับสภาพทางเคมี และการปรับสภาพทางชีวภาพ ทั้งนี้กระบวนการที่เหมาะสมในการปรับสภาพขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะสมบัติของวัตถุดิบที่นำมาใช้ ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการต่าง ๆ ในการปรับสภาพวัตถุดิบพวกลิกโนเซลลูโลสก่อนนำไปผลิตเอทานอลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการผลิตเอทานอล

คำสำคัญ : การปรับสภาพ; ลิกโนเซลลูโลส; การผลิตเอทานอล

 

Abstract

Ethanol production from food plants may cause a rising price of food. At present, the use of lignocellulosic material as a substrate for ethanol production has been promoted because these materials are abundant and cheap. However, lignocellulose consists of cellulose, hemicellulose, and especially, lignin which are difficult to degrade. It is, therefore, necessary to pretreat these materials, prior to processing such that pretreatment can be categorized into 4 processes including physical, physicochemical, chemical, and biological processes. The suitable pretreatment depends on types and characteristics of raw materials. Therefore, the objective of this article is to present the lignocellulose pretreatment processes, before ethanol production, to enhance cost reduction and efficient of ethanol production.

Keywords: pretreatment; lignocellulose; ethanol production

Article Details

Section
Physical Sciences